การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่นับถือศาสนาอิสลาม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ธรรมเนียมปฏิบัติรวมทั้งการนับศาสนาเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากความเข้าใจในแก่นแท้ของศาสนาและการยึดติดกับธรรมเนียมปฏิบัติบางอย่าง หากไม่มีการชี้แจงให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์หรือความต้องการหลักของข้อปฏิบัติต่าง ๆ อาจทำให้การปฏิบัติบางอย่างอาจมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากบุคลากรทางการแพทย์ต้องดูแลมารดาที่นับถือศาสนาที่แตกต่างกันในชุมชน การทำความเข้าใจกับข้อปฏิบัติของศาสนาต่าง ๆ เพื่อการให้คำปรึกษาและแนะนำการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่มารดาและครอบครัวปฏิบัติได้โดยไม่ขัดกับข้อปฏิบัติทางศาสนา ในประเทศไทยมีมารดาที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ เมื่อมีมารดาที่นับถืออิสลามฝากครรภ์และคลอด ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้เป็นสิ่งจำเป็น แต่ควรให้ความสำคัญกับโต๊ะอิหม่ามหรือผู้นำทางศาสนาในชุมชน1 เพราะหากผู้นำทางศาสนาในชุมชนมีความเข้าใจถึงความจำเป็นและความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว การอธิบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยสอดคล้องกับข้อปฏิบัติทางศาสนาจะทำได้ดี เข้าใจง่าย และสื่อได้ถึงใจมารดาและครอบครัวมากเสียยิ่งกว่าการอธิบายหรือแนะนำโดยบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้น การขอความช่วยเหลือจากโต๊ะอิหม่ามในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นสิ่งที่จะแก้ไขหรือลดข้อแนะนำที่อาจมีความขัดแย้งกับข้อปฏิบัติในทางศาสนา ซึ่งจะเป็นทั้งผลดีต่อมารดาและทารกรวมทั้งช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ในกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องดูแลมารดาที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็อาจใช้หลักในการที่จะช่วยสื่อความเข้าใจในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทำนองเดียวกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Kamoun C, Spatz D. Influence of Islamic Traditions on Breastfeeding Beliefs and Practices Among African American Muslims in West Philadelphia: A Mixed-Methods Study. J Hum Lact 2018;34:164-75.