? ? ? ? ? ??การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม โดยปกติจะแบ่งการเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสามช่วง ช่วงละสามเดือนหรือเรียกเป็นไตรมาส เรามาเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงในแต่ละไตรมาสกันเถอะ
?
การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสแรก
??????????? หากนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย ในสัปดาห์ที่สองที่เกิดการตกไข่? และเกิดการปฏิสนธิขึ้นในสัปดาห์ที่สามจะมีการฝังตัวของตัวอ่อนบริเวณโพรงมดลูก? หลังจากนั้น ตัวอ่อนจะเริ่มเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนในสัปดาห์ที่ 6 ขนาดจะประมาณเม็ดส้มเขียวหวานหรือประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เริ่มตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก เริ่มมีการสร้างแขนขา สัปดาห์ที่ 8 ขนาดประมาณผลสตอเบอรี่หรือประมาณ 22-24 มิลลิเมตร ซึ่งในสัปดาห์นี้ตัวอ่อนจะมีลักษณะเหมือนทารกมากขึ้นแต่ยังไม่สมบูรณ์ ศีรษะโตกว่าลำตัว เริ่มมีนิ้วมือนิ้วเท้า ใบหู ?สัปดาห์ที่ 10 ขนาดทารกประมาณลูกมะนาวหรือประมาณ 4 เซนติเมตร เริ่มมีการสร้างอวัยวะสำคัญมากขึ้น หากมีสิ่งกระตุ้นทารกสามารถอ้าปาก ขยับนิ้วมือและเท้าได้ สัปดาห์ที่ 12 ขนาดทารกในครรภ์จะยาวประมาณนิ้วก้อยหรือประมาณ 6-7 เซนติเมตร? นิ้วมือนิ้วเท้าเห็นชัดเจน อวัยวะเพศเริ่มแยกได้ว่าเป็นเพศหญิงหรือชาย (แต่จะตรวจจากคลื่นเสียงความถี่สูงจะแยกเพศได้เมื่ออายุครรภ์ราว 16-20 สัปดาห์) และมีเคลื่อนไหวของทารกให้เห็น สัปดาห์ที่ 14 ขนาดทารกในครรภ์จะยาวประมาณครึ่งฝ่ามือหรือประมาณ 8-10 เซนติเมตร? เมื่อถึงระยะนี้อาการของคุณแม่ที่พบในระยะแรกของการตั้งครรภ์ก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปโดย
– ถ้าเคยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือแพ้ท้องมาก? พอถึงสัปดาห์นี้อาการต่างๆ จะทุเลาลง
– อาการปัสสาวะบ่อยจะไม่ถี่เหมือนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
– อาจจะมีปัญหาเรื่องท้องผูก? เนื่องจากการเคลื่อนตัวของอุจจาระในลำไส้ช้าลงเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
– จะรู้สึกว่าคลำยอดมดลูกได้? เหนือกระดูกหัวหน่าว
– ?เต้านมขยายขึ้นและอาจเจ็บเมื่อสัมผัส
– น้ำหนักตัวของคุณแม่เมื่อถึงระยะนี้จะเพิ่มเพียงเล็กน้อยประมาณ 1 กิโลกรัม? โดยในบางรายที่มีอาการแพ้มาก อาจไม่เพิ่มเลยก็ได้
คุณแม่จะปฏิบัติตัวอย่างไรในช่วงไตรมาสแรก??
การปฏิบัติตัวของคุณแม่ในช่วงไตรมาสแรก? สิ่งแรกที่ย้ำให้ต้องปฏิบัติคือ ?เข้ารับการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าทีการตั้งครรภ์? ซึ่งจะมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของคุณแม่ดังนี้
– กินอาหารที่สดใหม่? โดยมีสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งห้าหมู่ ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลดลงแต่เพิ่มมื้ออาหารบ่อยครั้งขึ้น อาจมีอาหารว่างช่วงสายหรือบ่ายเพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมัน หรือย่อยยากเพราะอาจทำให้อาเจียนมากขึ้น งดอาหารที่ไม่สะอาด ดิบ หรือปรุงไม่สุก สำหรับคุณแม่ที่มีอาการอาเจียนมากจนน้ำหนักลด อาจรับประทานน้ำหวานระหว่างมื้ออาหาร เพราะย่อยง่ายดูดซึมเร็ว ช่วยให้พลังงานและลดการอ่อนเพลียได้ สำหรับยาแก้แพ้ท้องที่อาจใช้ได้แก่ วิตามินบีหก รับประทานสามเวลาก่อนอาหารครั้งละหนึ่งเม็ด หรือ ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) ขนาด 50 มิลลิกรัม รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง ครั้งละหนึ่งเม็ด หากมีอาการมากให้ได้ถึงวันละสามเวลา อาจพบอาการข้างเคียงคือ ง่วงซึม ปากแห้งได้
– หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ในคุณแม่ที่มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่รับประทานอาหารจนอิ่มหรือแน่นเกินไป ค่อยๆรับประทานอาหารช้าๆ แบ่งให้อาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง การย่อยจะเกิดได้ดีขึ้น ลดความผิดปกติจากการที่น้ำย่อยไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารทำให้แสบบริเวณหน้าอก ไม่ควรนอนพักทันทีหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ หากอาการเป็นมากอาจรับประทานยาลดกรดในกระเพาะจะช่วยลดอาการนี้ได้
– การออกกำลังกายในระหว่างมีครรภ์ อาจใช้การเดินออกกำลังหรือสามารถว่ายน้ำได้ แต่ควรทำอย่างพอเหมาะ หากมีอาการแพ้มาก อ่อนเพลีย ควรงดออกกำลังกายไปก่อน
– หากมีหน้ามืดเป็นลมเมื่อต้องยืนนานๆ ควรแก้ไขโดยการยืนสลับเท้าไปมาเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ร่วมกับการหายใจเข้าออกยาวๆ ลึกๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากเป็นจากการคลื่นไส้และอาเจียนมาก แนะนำเรื่องการแบ่งมืออาหารเพิ่มขึ้นและรับประทานน้ำหวานเพิ่มเติม
– ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ เพราะจะเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นการเดินทางโดยรถประจำทางไกลๆ ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจจำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะนานๆ
– ป้องกันอาการท้องผูกโดยดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้หรืออาหารที่มีกากเส้นใยสูง การรับประทานโยเกิร์ตก็ช่วยได้
– เลือกซื้อยกทรงที่พยุงทรงได้ดี เนื่องจากจะมีการขยายและคัดของเต้านม จะทำให้ผ่อนคลายไม่อึดอัด อาจทาเบบี้ออยล์หรือครีมช่วยลดการแตกของผิวหนังบริเวณเต้านมได้
– ตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ หากพบฟันผุ สามารถอุดฟันได้ ควรหลีกเลี่ยงการถอนฟันหากทำได้ควรรักษาหลังคลอดบุตรแล้ว
– การมีเพศสัมพันธ์สามารถมีได้ตามปกติ? ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันได้แก่ เลือดออกจากโพรงมดลูกหรือภาวะแท้งคุกคาม
– การปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันอื่นๆ เหมือนปกติ แต่การเคลื่อนไหวต้องระมัดระวังเรื่องการโดนกระแทกบริเวณหน้าท้อง การหกล้มและการก้มยกของหนัก
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น หากไม่สบายควรปรึกษาแพทย์และแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่าตั้งครรภ์ เพื่อแพทย์จะได้เลือกใช้ยาอย่างเหมาะสมโดยไม่เป็นอันตรายกับทารกในครรภ์
– ท่านั่ง ท่ายืน ท่านอน ที่เหมาะสมยังคงเหมือนกับปกติ ก่อนการตั้งครรภ์
อาการอะไรบ้างที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ในไตรมาสแรก?
– เลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นอาการนำของการแท้ง หรือท้องนอกมดลูก
– ปัสสาวะแสบ ขัด หรือเป็นเลือด
– ปวดท้องน้อยรุนแรง
– มีไข้สูง ไม่ทราบสาเหตุ
– คลื่นไส้อาเจียน จนน้ำหนักลดมากกว่า 1 กิโลกรัม
– ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นหรือคันช่องคลอด
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์