แม่ที่สูบบุหรี่มักได้ลูกสาวที่มีน้ำหนักน้อย

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การสูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ส่งผลเสียต่อทั้งมารดาและทารก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากในบุหรี่นั้นมีสารพิษหลากหลายชนิดที่ส่งผลโดยตรงและสะสมไปจนเกิดผลเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ผลเสียของบุหรี่นั้นสามารถเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่โดยตรงของมารดาหรือได้รับควันบุหรี่มือสองจากบุคคลในครอบครัว มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับน้ำหนักทารกที่คลอดออกมา พบว่า มารดาที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีน้ำหนักตัวน้อยมากกว่าถึง 3.8 เท่า และพบว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่สูบบุหรี่จะเป็นลูกสาวมากกว่าเป็นลูกชายถึง 2.5 เท่า นอกจากนี้ โอกาสในการที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสมและมีการเริ่มอาหารเสริมที่เร็วกว่าที่มีการแนะนำพบมากกว่าถึง 3.9 เท่า1 อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการทราบถึงพิษภัยของบุหรี่ที่มีผลเสียต่อมารดาและทารก การหยุดหรือเลิกบุหรี่ก็ยังเป็นเรื่องที่ยาก แต่การมีบุตรและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นแรงใจที่พบว่าช่วยให้มารดามีโอกาสที่จะลดหรือเลิกบุหรี่ได้สูงขึ้น ดังนั้น การให้คำปรึกษาและให้ความรู้แก่มารดาอย่างเหมาะสมที่จะทำให้มารดาทราบถึงพิษภัยของบุหรี่อันจะเป็นพื้นฐานที่จะสร้างกำลังใจในการลดหรือเลิกบุหรี่เพื่อลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Timur Tashan S, Hotun Sahin N, Omac Sonmez M. Maternal smoking and newborn sex, birth weight and breastfeeding: a population-based study. J Matern Fetal Neonatal Med 2017;30:2545-50.