การผ่าตัดคลอด มีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จริงหรือ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การผ่าตัดคลอด โดยทั่วไปแล้ว หากพิจารณาตามความจำเป็นตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ควรจะมีการผ่าตัดคลอดราวร้อยละ 15 แต่ในปัจจุบัน หากติดตามข้อมูลของการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลพบว่ามีการผ่าตัดคลอดที่สูงขึ้นคือร้อยละ 40-50 ขณะที่การผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลเอกชนพบร้อยละ 80-90 ซึ่งจะเห็นว่า อัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงเกินความจำเป็นนี้นอกจากจะส่งผลเสียต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพมารดาและทารกด้วย กล่าวคือ มารดาที่ผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการที่ต้องใช้ยาระงับความรู้สึกหรือยาดมสลบเพิ่มขึ้น เสียเลือดจากการคลอดเพิ่มขึ้น โอกาสที่จะตกเลือดหลังคลอดสูงขึ้น การพักฟื้นหลังผ่าตัดคลอดยาวนานกว่าการคลอดปกติ ทารกที่ผ่าตัดคลอดมีโอกาสหายใจเร็วผิดปกติสูงขึ้น และสำหรับในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มักเริ่มต้นได้ช้า ส่งผลให้น้ำนมแม่มาช้า ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีแนวโน้มจะต่ำกว่ามารดาที่คลอดปกติ มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการผ่าตัดคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่า การผ่าตัดคลอดลดอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกสูงถึงร้อยละ 47 และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเดือนที่สี่ร้อยละ 391 หากมารดาและครอบครัวทราบและเข้าใจถึงข้อเสียและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นแล้ว ควรดูแลตนเองระหว่างการฝากครรภ์และปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในการผ่าตัดคลอด เพื่อผลที่ดีต่อสุขภาพของทั้งมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhao J, Zhao Y, Du M, Binns CW, Lee AH. Does Caesarean Section Affect Breastfeeding Practices in China? A Systematic Review and Meta-Analysis. Matern Child Health J 2017;21:2008-24.