ความเชื่อของชุมชนมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1102

?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ความเชื่อที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในแต่ละสังคมจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติตัวของคนในสังคมนั้น ๆ รวมถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาในหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันและมีความเชื่อในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างกัน พบว่า ความเชื่อของชุมชนมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ดังนั้น การรณรงค์ให้ความรู้ที่เหมาะสมและถูกต้องจึงมีความจำเป็น เพื่อให้มารดาและครอบครัวมีความเข้าใจถึงประโยชน์ ความสำคัญ และการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นเริ่มอาหารเสริมตามวัยร่วมกับการให้นมแม่ต่อเนื่องจนกระทั่งครบสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก

? ? ? ? ? ? ? ? ? สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกยังมีอุปสรรคจากความเชื่อในหลาย ๆ เรื่องที่พบ ได้แก่ การให้ลูกกินน้ำเนื่องจากความกลัวว่าทารกจะตัวเหลือง หรือให้ทารกกินน้ำเมื่อทารกสะอึก การให้ลูกกินกล้วย กินข้าว หรืออาหารอื่นก่อนเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากความเชื่อว่าจะทำให้ลูกอิ่มและหลับได้นาน ความเชื่อเหล่านี้ จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการให้ความรู้ ซึ่งต้องอาศัยกำลังสำคัญจากบุคลากรทางการแพทย์ เครือข่ายสาธารณสุข ร่วมกับการสื่อสารรณรงค์ของคนในสังคมที่จะกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว และการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในสังคมที่เคยมีมานานได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Atyeo NN, Frank TD, Vail EF, Sperduto WA, Boyd DL. Early Initiation of Breastfeeding Among Maya Mothers in the Western Highlands of Guatemala. J Hum Lact 2017:890334416682729.