ภาวะลิ้นติดของทารกทำให้มารดาเจ็บหัวนมขณะกินนมแม่

dsc00797

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมแม้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุได้หลากหลาย แต่สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด การที่ทารกมีพังผืดใต้ลิ้นติดมาถึงหรือใกล้กับส่วนปลายลิ้น1 แล้วมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นออกมาข้างหน้าทำได้ไม่ดี จะมีผลต่อกระบวนการการดูดนมแม่จากเต้านมของมารดา ซึ่งจะทำให้ทารกออกแรงในการดูดนมมากขึ้นและทำให้เกิดการเจ็บหัวนม โดยที่การเจ็บหัวนมของมารดา หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้มารดาหยุดการให้ลูกกินนมแม่ หรืออาจเกิดบาดแผลบริเวณหัวนม และเกิดภาวะแทรกซ้อนของเต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมได้ อุบัติการณ์ของภาวะลิ้นตัดในทารกของไทยพบราวร้อยละ 13 โดยพบทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดคือราวร้อยละ 6-72 ซึ่งทารกเหล่านี้ หากได้รับการแก้ไขภาวะลิ้นติดตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะลดการปัญหาการเกิดการเจ็บหัวนมของมารดาที่ต่อเนื่องจนกระทั่งหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Kotlow LA. Ankyloglossia (tongue-tie): a diagnostic and treatment quandary. Quintessence Int 1999;30:259-62.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.