ขยะอิเลคทรอนิคส์ส่งผลกระทบต่อนมแม่

img_2188

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีการใช้เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่หลากหลายมากมายในชีวิตประจำวัน ซึ่งในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์เหล่านี้อาจส่งผ่านสารพิษที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีผลกระทบต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคทรอนิคส์ที่มีสาร Polybrominated diphenyl ethers หรือ PBDE จะมีการกระจายของสารเหล่านี้ออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเคลทรอนิคส์เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้พบสารพิษเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงในนมแม่ ซึ่งสารพิษเหล่านี้มีผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ไทรอยด์ฮอร์โมน และเอสโตรเจน ซึ่งอาจมีผลต่อการเจริญเติบโต พฤติกรรม และการแสดงออกทางเพศที่พบมีการเบี่ยงเบนทางเพศที่หลากหลายในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสารที่กระตุ้นเกิดความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นในปัจจุบัน จึงพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคโทรนิคส์ อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจสารเหล่านี้ในนมแม่ของมารดาในประเทศจีน และพบว่ามารดาที่รับประทานเนื้อสัตว์สูงอาจมีแนวโน้มจะพบสารพิษเหล่านี้สูงด้วย1 การให้ความสนใจใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นนอกเหนือจากการดูแลส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Yang L, Lu Y, Wang L, Chang F, Zhang J, Liu Y. Levels and Profiles of Polybrominated Diphenyl Ethers in Breast Milk During Different Nursing Durations. Bull Environ Contam Toxicol 2016;97:510-6.