รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?การเลือกการดูแลรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุน (complementary medicine) หรือการแพทย์ทางเลือก (alternative medicine) มีเพิ่มขึ้นในการดูแลรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพรวมทั้งการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย แนวโน้มของกระแสการดูแลด้วยการใช้การแพทย์ผสมผสานที่ใช้ทั้งศาสตร์ของการแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการใช้สมุนไพร การผ่อนคลาย ก็มีมากขึ้น ร่วมกับมีการใช้การแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม ให้เป็นทางเลือกในการดูแลรักษาก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน มีการศึกษาว่า การใช้การแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือกช่วยในการกระตุ้นนมแม่ในมารดาที่คลอดใกล้ครบกำหนดหรือเพิ่งเริ่มครบกำหนดว่ามีความปลอดภัยและอาจช่วยกระตุ้นนมแม่ได้
? ? ? ? ? ? ? สำหรับสมุนไพรไทย ได้แก่ ขิง ก็พบว่าเป็นสิ่งดีๆ ที่มีคุณค่า โดยพบว่าสามารถช่วยกระตุ้นนมแม่ได้ในระยะแรกหลังคลอดได้1 นอกจากนี้ การประคบเต้านมด้วยลูกประคบ การนวดเต้านมและ/หรือการบีบน้ำนมด้วยมือยังช่วยในการลดการตึงคัดเต้านมได้2 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรละเลยการให้ความสนใจในศาสตร์ของการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก ที่อาจเป็นหนทางหนึ่งในการช่วยเหลือมารดาให้สามารถให้นมแม่ได้ และควรส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยให้เกิดองค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ในศาสตร์เหล่านี้เพิ่มขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- Paritakul P, Ruangrongmorakot K, Laosooksathit W, Suksamarnwong M, Puapornpong P. The Effect of Ginger on Breast Milk Volume in the Early Postpartum Period: A Randomized, Double-Blind Controlled Trial. Breastfeed Med 2016;11:361-5.
- Witt AM, Bolman M, Kredit S. Mothers Value and Utilize Early Outpatient Education on Breast Massage and Hand Expression in Their Self-Management of Engorgement. Breastfeed Med 2016;11:433-9.