รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ??การผ่าตัดคลอด ในอดีตถือว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องมีข้อบ่งชี้ชัดเจนเนื่องจากความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดสูงกว่าการให้มารดาคลอดปกติทางช่องคลอด แต่เมื่อการแพทย์พัฒนาขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดคลอดลดลง ทำให้ความใส่ใจและเข้มงวดในข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดลดลงด้วย เห็นได้จากอัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ในโรงพยาบาลรัฐบาลนั้น อัตราการผ่าตัดคลอดโดยรวมจะพบราวร้อยละ 30-50 ขณะที่ในโรงพยาบาลเอกชนพบอัตราการผ่าตัดคลอดราวร้อยละ 70-90 ซึ่งการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นจากความกังวลในเรื่องการฟ้องร้อง ซึ่งการที่แพทย์ดูแลการคลอดปกติ บางครั้งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้คาดคิด มารดาและครอบครัวจะตั้งคำถามว่า ?ทำไม่หมอไม่ตัดสินใจผ่าตัดคลอด? ความเชื่อและค่านิยมลึกๆ ที่ยังฝังใจมารดาและครอบครัวว่า การผ่าตัดคลอดน่าจะมีความปลอดภัยในการคลอดมากกว่าจึงอาจมีผลต่ออัตราการผ่าตัดคลอดด้วย ผลของการผ่าตัดคลอดนั้น นอกจากความเสี่ยงต่างๆ ของมารดาและทารกที่พบสูงขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้ากว่า การเจ็บแผลที่มากกว่าส่งผลต่อการขยับตัว การจัดท่า และการนำทารกเข้าเต้าได้ไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วกว่าที่ควร1,2 การที่พบว่าอัตราการผ่าตัดคลอดเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลเสียและเป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
- Hobbs AJ, Mannion CA, McDonald SW, Brockway M, Tough SC. The impact of caesarean section on breastfeeding initiation, duration and difficulties in the first four months postpartum. BMC Pregnancy Childbirth 2016;16:90.
- Buranawongtrakoon S, Puapornpong P. Comparison of LATCH scores at the second day postpartum between mothers with cesarean sections and those with normal deliveries. Thai J Obstet and Gynaecol 2016;24:6-13.