รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การให้การดูแล
- คัดกรองภาวะเบาหวาน โรคหรือความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่มีผลต่อการสร้างและทำให้น้ำนมมาช้า
- หากมีสาเหตุให้น้ำนมมาช้า พยายามแก้ไขสาเหตุก่อนการให้อาหารเสริมอื่นๆ
- ให้การสนับสนุน และแนะนำการปฏิบัติที่เหมาะสมของมารดาและทารกที่จะไม่รบกวนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- สอนทักษะการบีบเก็บน้ำนม? หากทารกมีความจำเป็นต้องแยกจากมารดา
- ประเมินความเร่งด่วนในการนัดติดตามดูแลปัญหาของมารดาและทารก
ขั้นตอนก่อนการอนุญาตให้มารดาและทารกกลับบ้าน
- ทบทวนมารดาถึงการตัดสินใจในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และระยะเวลาที่ต้องการให้นมลูก
- ย้ำให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
- เตือนมารดาในเรื่องการรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบห้าหมู่ และควรดื่มน้ำเมื่อมีอาการกระหาย
- นัดติดตามมารดาและทารกที่คลินิกนมแม่ คลินิกหลังคลอด หรือคลินิกเด็กดี ภายในสัปดาห์แรก ช่วงระยะเวลาเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความจำเป็นต้องติดตามปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาและทารกในแต่ละคู่
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.