รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การสร้างน้ำนม กลไกการสร้างจะเริ่มมาตั้งแต่ในช่วงระยะตั้งครรภ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีการขยายหรือตึงคัดของเต้านม ซึ่งโดยทั่วไป มารดาส่วนใหญ่หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก แต่การประเมินว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ มารดาจำเป็นต้องทราบลักษณะที่บ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ ได้แก่ การสังเกตว่าทารกกินนมแล้วรู้สึกอิ่ม หลับสบาย ไม่หงุดหงิดหรือร้องกวน ขับถ่ายได้ดี น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์
? ? ? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม มีภาวะบางอย่างที่ส่งผลต่อการสร้างน้ำนมที่ทำให้น้ำนมมาช้าหรือมาน้อย ได้แก่ การมีรกค้าง การมีฮอร์โมนของต่อมใต้สมองต่ำ เบาหวาน หรือยาบางชนิด ภาวะเหล่านี้พบน้อย ดังนั้น การมีน้ำนมมาช้าหรือมาน้อยของมารดาจึงไม่ควรพบบ่อย หลักการให้คำปรึกษามารดาที่กังวลเรื่องน้ำนมไม่พอ คือ ควรประเมินความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำนมมาช้าหรือมาน้อยก่อน หากไม่มี ควรแนะนำการให้ทารกกระตุ้นดูดนมให้บ่อยพอ จัดท่าทารกให้นมให้เข้าเต้าและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ทารกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า ซึ่งกระบวนการหลักเหล่านี้จะช่วยในเรื่องการสร้างน้ำนมให้เพียงพอได้
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.