การซักประวัติสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกฝากครรภ์

IMG_9705

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาเมื่อเริ่มตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ นอกจากการให้ความรู้เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว การซักประวัติเพื่อประเมินความเสี่ยงของมารดาที่จะเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็น ประวัติที่ควรสอบถามมารดา ได้แก่

? ? ? ?-ประวัติโรคประจำตัว ภาหะไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อเอชไอวี และการเป็นงูสวัดบริเวณเต้านม

? ? ? ?-ประวัติการใช้ยา ยาที่มารดาใช้เป็นประจำ หรือใช้เพื่อรักษาโรคประจำตัวอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของทารกในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร

? ? ? ?-ประวัติการบาดเจ็บและผ่าตัดบริเวณเต้านม โดยเฉพาะบริเวณหัวนมและลานนม ซึ่งอาจรบกวนท่อน้ำนมที่จะนำน้ำนมจากต่อมน้ำนมมาที่หัวนม รวมทั้งการผ่าตัดเสริมเต้านมหรือลดขนาดของเต้านม

? ? ? ?-ประวัติลักษณะการรับประทานอาหาร ควรแนะนำมารดาให้รับประทานอาหารครบห้าหมู่โดยมีสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปอาหารปกติที่มารดารับประทานไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม แต่หากมารดารับประทานอาหารได้เหมาะสม ร่างกายของมารดาก็จะผลิตน้ำนมที่มีสมบูรณ์และเพียงพอโดยไม่รบกวนสารอาหารที่สะสมในร่างกายของมารดา

? ? ? ? –ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด ควรมีการงดหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมสำหรับมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร คนในครอบครัวที่อยู่ในบ้านเดียวกัน

? ? ? ? –ประวัติการให้นมลูกในครรภ์ก่อน ปัญหา อุปสรรคและความวิตกกังวลในการให้นมของมารดาที่เกิดขึ้นในครรภ์ก่อนทั้งในโรงพยาบาลและเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านกับครอบครัว

? ? ? ? –ประวัติการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสามี คนในครอบครัว ญาติ เพื่อนสนิทและชุมชนในบริเวณใกล้บ้าน

? ? ? ? ? การซักประวัติข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าใจบริบท ปัญหา และอุปสรรคที่มารดาอาจต้องเผชิญมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน จากนั้นให้อาหารเสริมตามวัยพร้อมให้นมแม่ต่อจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้นด้วยความมั่นใจและเกิดประสบการณ์ที่ประทับใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.