มารดาวัยรุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่าจริงหรือ

IMG_9404

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ปัญหามารดาวัยรุ่นในประเทศไทยพบได้บ่อย โดยที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบร้อยละ 14.81 แม้ว่ามารดาวัยรุ่นจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดสูงขึ้น ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความยากลำบากในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากทารกอาจจำเป็นต้องแยกจากมารดาและดูแลอยู่ที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต บุคลากรทางการแพทย์จึงต้องใส่ใจและให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดากลุ่มนี้ แต่ในกรณีที่มารดาวัยรุ่นที่คลอดครบกำหนดและไม่มีภาวะแทรกซ้อน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่ได้แตกต่างจากมารดาในกลุ่มอายุอื่นๆ เลย1,2 ความเข้าใจในเรื่องนี้ อาจทำให้การจดสรรกำลังบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapompong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
  2. Jara-Palacios MA, Cornejo AC, Pelaez GA, Verdesoto J, Galvis AA. Prevalence and determinants of exclusive breastfeeding among adolescent mothers from Quito, Ecuador: a cross-sectional study. Int Breastfeed J 2015;10:33.