ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเต้านมอักเสบ

S__38199475

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การเกิดเต้านมอักเสบในมารดาที่ให้นมลูกพบร้อยละ 8 ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด1 และพบร้อยละ 10.3-20 ในช่วงหกเดือนหลังคลอด2,3 มีการศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเต้านมอักเสบ1-4 พบว่า การมีประวัติเต้านมอักเสบมาก่อนเพิ่มความเสี่ยง 1.74-4 เท่า (95%CI 1.07-2.81, 95%CI 2.64-6.11) มารดาที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเพิ่มความเสี่ยง 1.93 เท่า (95%CI 1.18-3.16) การผ่าตัดคลอดเพิ่มความเสี่ยง 3.52 เท่า (95%CI 1.09-11.42) มารดาที่รู้สึกเครียดเพิ่มความเสี่ยง 3.15 เท่า (95%CI 1.56-6.37) การให้นมก่อนที่น้ำนมจะมาเพิ่มความเสี่ยง 2.76 เท่า(95%CI 1.03-7.40) การมีหัวนมแตกหรือเจ็บหัวนมเพิ่มความเสี่ยง 1.44-3.4 เท่า (95%CI 1.00-2.07, 95%CI 2.04-5.51) การมีท่อน้ำนมอุดตันเพิ่มความเสี่ยง 2.43 เท่า (95%CI 1.68-3.49) การเริ่มให้นมในเต้านมอีกข้างเมื่อให้นมครั้งถัดไปเพิ่มความเสี่ยง 2.28 เท่า (95%CI 1.50-3.44) การใช้เครื่องปั๊มนมเพิ่มความเสี่ยง 3.3 เท่า (95%CI 1.92-5.62) และการใช้ครีมทาหัวนมเพิ่มความเสี่ยง 1.83 เท่า (95%CI 1.22-2.73)

? ? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ ประวัติการมีน้ำนมมาช้ากว่า 24 ชั่วโมงหลังคลอด ประวัติการแยกมารดาและทารกนานกว่า 24 ชั่วโมง และการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่ระหว่างการให้นมยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดเต้านมอักเสบของมารดาด้วย ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรเอาใจใส่ในมารดากลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ หลีกการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อราเฉพาะที่ไม่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้มารดาและทารกแยกจากกันหลังคลอด ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมบ่อยๆ ให้น้ำนมมาเร็ว ไม่ควรใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะสมหรือเริ่มเร็วเกินไป จัดท่ามารดาและทารกให้เข้าเต้าเหมาะสมเพื่อการดูดนมที่มีประสิทธิภาพ ลดการเจ็บหัวนมและเต้านม ท่อน้ำนมอุดตัน และควรดูดนมให้เกลี้ยงเต้าในเต้านมข้างเดิมในการดูดนมครั้งถัดไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเต้านมอักเสบได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Khanal V, Scott JA, Lee AH, Binns CW. Incidence of Mastitis in the Neonatal Period in a Traditional Breastfeeding Society: Results of a Cohort Study. Breastfeed Med 2015;10:481-7.
  2. Tang L, Lee AH, Qiu L, Binns CW. Mastitis in Chinese breastfeeding mothers: a prospective cohort study. Breastfeed Med 2014;9:35-8.
  3. Kinlay JR, O’Connell DL, Kinlay S. Risk factors for mastitis in breastfeeding women: results of a prospective cohort study. Aust N Z J Public Health 2001;25:115-20.
  4. Foxman B, D’Arcy H, Gillespie B, Bobo JK, Schwartz K. Lactation mastitis: occurrence and medical management among 946 breastfeeding women in the United States. Am J Epidemiol 2002;155:103-14.

?