การป้ายแบคทีเรียในช่องคลอดให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอด

02090044

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การที่ทารกได้รับการผ่าตัดคลอด ทารกจะไม่ได้ผ่านลงในช่องคลอด และจะไม่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจากช่องคลอดที่จะเข้าไปเจริญเติบโตเป็นจุลินทรีย์ถิ่น (normal flora) ที่อยู่ในลำไส้ทารก ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยในย่อยอาหาร กระตุ้นภูมิคุ้มกัน1,2 และการพัฒนาการที่จำเป็นของลำไส้3 จึงมีแนวคิดว่าจะป้ายแบคทีเรียในช่องคลอด (vaginal seeding) ให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอด โดยหวังว่าจะช่วยในการเพิ่มจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่จะเจริญเติบโตไปเป็นจุลินทรีย์ถิ่นในช่องคลอด โดยมีการทำในหลายประเทศ4 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ในการใช้การป้ายแบคทีเรียในช่องคลอดให้กับทารกที่ผ่าตัดคลอดยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน ซึ่งมีความคิดเห็นบางความคิดเห็นที่คิดแตกต่างกัน โดยข้อคิดแย้งมีความวิตกกังวลว่าอาจจะทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการป้ายเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดที่บางครั้งอาจมีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแฝงอยู่ด้วย ดังนั้น ในทางปฏิบัติการที่จะช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่จะเข้าไปเป็นจุลินทรีย์ถิ่น ควรเลือกวิธีการที่มีการรับรองว่ามีความปลอดภัยก่อนมากกว่า ได้แก่ การให้ทารกที่ผ่าตัดคลอดได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและกินนมแม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยทารกได้เช่นเดียวกัน สามารถปฏิบัติได้ง่าย และมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกหลากหลายด้าน

เอกสารอ้างอิง

  1. West CE, Renz H, Jenmalm MC, et al. The gut microbiota and inflammatory noncommunicable diseases: associations and potentials for gut microbiota therapies. J Allergy Clin Immunol 2015;135:3-13; quiz 4.
  2. Sevelsted A, Stokholm J, Bonnelykke K, Bisgaard H. Cesarean section and chronic immune disorders. Pediatrics 2015;135:e92-8.
  3. Madan JC, Hoen AG, Lundgren SN, et al. Association of Cesarean Delivery and Formula Supplementation With the Intestinal Microbiome of 6-Week-Old Infants. JAMA Pediatr 2016:1-8.
  4. Molloy A. Mothers facing C-sections look to vaginal ?seeding? to boost their babies’ health.Guardian?2015 Aug 17.

 

?