การคลอดท่าใดเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหูรูดทวารหนัก

25

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ปกติแล้วในการคลอดที่โรงพยาบาล เมื่อมารดาปวดเบ่งคลอดและปากมดลูกเปิดหมด ทารกพร้อมที่จะคลอด มารดาจะได้รับการจัดท่าให้เบ่งคลอด โดยท่าที่นิยมใช้ในโรงพยาบาลคือท่ามารดานอนหงายและยกขาทั้งสองข้างขึ้นบนที่รองขาพร้อมกับแยกขาออกกว้าง ซึ่งทางการแพทย์เรียกท่านี้ว่า? ท่าขบนิ่ว (lithotomy position) ท่านี้ไม่ได้ส่งเสริมการเบ่งคลอดเนื่องจากการเบ่งคลอดจะทำได้ยากในท่าที่มารดานอนหงายและต้องยกขาขึ้น ดังนั้น การจะช่วยให้มารดาเบ่งคลอดได้ดีขึ้นควรปรับหลังของมารดาให้ยกสูงขึ้น หรืออยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน การเบ่งคลอดของทารกก็จะดีขึ้น เนื่องจากมีแรงดึงดูดของโลกช่วยให้ทารกลงมาตามช่องคลอดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาว่า หากให้มารดาคลอดในท่านั่งจะมีความเสี่ยงในการเกิดการฉีดขาดของหูรูดทวารหนักได้มากกว่าโดยเฉพาะในมารดาในท้องหลัง สำหรับท้องแรกการคลอด เมื่อเปรียบเทียบกับท่านั่ง ท่านอนตะแคงจะมีการฉีดขาดของหูรูดน้อยกว่า1 ขณะที่ท่าขบนิ่วมารดาจะมีการฉีกขาดของหูรูดมากกว่า สรุปแล้ว ท่าคลอดที่มีแนวโน้มจะเบ่งคลอดได้ง่าย มักมีโอกาสเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหูรูดทวารหนักมากกว่า แต่ท่าขบนิ่วนั้นไม่เหมาะสมในการเบ่งคลอด ดังนั้น ในการจัดท่ามารดาจึงควรเลือกให้เหมาะสมโดยให้มีความสมดุลกันระหว่างการคลอดที่ไม่ยากและเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหูรูดทวารหนักน้อยกว่าด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Elvander C, Ahlberg M, Thies-Lagergren L, Cnattingius S, Stephansson O. Birth position and obstetric anal sphincter injury: a population-based study of 113 000 spontaneous births. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:252.

?

?