มารดาที่ให้นมลูกเสริมสวยได้หรือไม่

 

g46

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สตรีโดยทั่วไปจะรักสวยรักงาม ดังนั้น อาจมีคำถามที่อยากรู้ว่า ในช่วงหลังคลอด ขณะมารดาให้นมบุตรจะเสริมสวยได้หรือไม่ เนื่องจากมีกิจกรรมหลายอย่างที่เคยทำในชีวิตประจำวันในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ได้แก่ การย้อมสีผม การทำเล็บ การฉีดโบท็อกซ์ การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย หรือการนอนที่ตู้ที่ปรับผิวให้สีแทนในคนที่นิยมผิวสีแทน รายละเอียดของแต่ละกิจกรรม มีข้อแนะนำดังนี้

? ? ? ? ? ? การย้อมสีผม จะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนัง เข้าไปในกระแสเลือด และผ่านน้ำนมได้ แต่มีปริมาณเล็กน้อย มารดาสามารถย้อมสีผมในระหว่างช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ควรระมัดระวังสารระเหยที่เป็นตัวทำละลายสี หากขณะหมักหรือย้อมสีผมใช้เวลานาน มารดาอาจสูดดมสารที่เป็นตัวทำละลายสีจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้น ควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? ?การทาเล็บ ในยาทาเล็บจะมีสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ แต่มีปริมาณน้อย มารดายังสามารถทาเล็บได้ในช่วงที่ให้นมลูกได้โดยปลอดภัย แต่ต้องระวังสารระเหยจะยาทาเล็บ ในมารดาที่ต้องทำงานอยู่ในร้านเสริมสวย และต้องทาเล็บให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ควรจัดสถานที่ในร้านให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก

? ? ? ? ? การฉีดโบท็อกซ์ สารโบท็อกซ์เป็นสารโมเลกุลใหญ่ส่วนใหญ่จะอยู่ในกล้ามเนื้อที่ฉีดเข้าไป ไม่ควรจะผ่านไปที่น้ำนม อย่างไรก็ตาม ควรเว้นการให้นมบุตร 4-6 ชั่วโมงหลังจากการฉีดโบท็อกซ์

? ? ? ? ? ?การลดน้ำหนัก ในสตรีที่ให้นมบุตรจะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กิโลแคลอรี่ ดังนั้น หากมารดาเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสม น้ำหนักมารดาจะกลับสู่ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ได้ดี ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองจะเป็นส่วนช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักด้วยอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการกินยาเพื่อลดน้ำหนักระหว่างการให้นมบุตร

? ? ? ? ? การออกกำลังกาย มารดาระหว่างการให้นมบุตรสามารถออกกำลังกายได้ แต่หากออกกำลังกายหนักมากจนร่างกายล้า ร่างกายจะผลิตกรดแลคติกเพิ่มขึ้น อาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป ไม่มีผลเสียต่อทารก แต่หากทารกปฏิเสธการกินนม อาจใช้นมที่บีบเก็บไว้ก่อนการออกกำลังกายมาให้ทารกได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายในขนาดที่เหมาะสม มารดาจะไม่เหนื่อยล้าจนเกินไป จิตใจแจ่มใส และมีเรี่ยวแรงในการเอาใจใส่ดูแลบุตร

? ? ? ? สำหรับการนอนในตู้ที่ปรับสีผิวให้เป็นสีแทน สามารถทำได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงในบริเวณเต้านมและหัวนม เนื่องจากอาจทำให้ผิวแห้ง แสบ ไหม้ และเจ็บขณะให้นมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.