รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในช่วงเวลาก่อนให้ลูกกินนมเล็กน้อย ร่างกายมารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่ออารมณ์ของมารดา ได้แก่ โดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง ทำให้มารดารู้สึกเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังได้ อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป อาการเหล่านี้ เกิดจากอารมณ์แปรปรวนก่อนการให้นม ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า Dysphoric Milk Ejection Reflux หรือ D-MER อาการนี้จะแตกต่างจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่มารดาจะมีอารมณ์หรืออาการซึมเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่เฉพาะช่วงก่อนการให้นม อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะหายไปได้เองภายในสองสัปดาห์ แต่หากอาการซึมเศร้าของมารดาเป็นนานกว่าสองสัปดาห์ อาการนี้อาจเกิดจากภาวะซึมเศร้ารุนแรง (major depression) ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาและการดูแลเฉพาะจากจิตแพทย์
? ? ? ? ? ? ? สำหรับอาการแปรปรวนก่อนการให้นมนั้น หากมารดามีความรู้และเข้าใจถึงภาวะนี้ มารดาจะไม่วิตกกังวล การฝึกผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังดนตรีที่ชอบ หรือใช้กลิ่นบำบัด (aromatherapy) โดยอาจใช้เทียนหอมในกลิ่นลาเวนเดอร์ที่ช่วยให้มารดารู้สึกผ่อนคลายได้ อาการแปรปรวนก่อนการให้นมโดยทั่วไปจะดีขึ้นเองและหายเองเมื่อเวลาผ่านไปราว 2-3 เดือน ความเข้าใจและการเอาใจใส่ของครอบครัวสามารถช่วยลดปัญหาของภาวะนี้และภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.