มารดาเจ็บเต้านมขณะที่ให้นมบุตร ต้องระวังอย่างไรบ้าง

IMG_1005

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?อาการเจ็บเต้านมเป็นอาการที่พบได้บ่อยหลังคลอดและระหว่างการให้นมบุตร มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ควรทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านม เพื่อการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและหากมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ อาการเจ็บเต้านมของมารดาเกิดได้จาก

? ? ? ? ? ?-การตึงคัดเต้านมในระยะหลังคลอด มารดาอาจมีไข้ต่ำๆ ส่วนใหญ่อาการไข้จะไม่นานเกิน 24 ชั่วโมง การประคบเย็นจะช่วยลดอาการปวดคัดตึงเต้านมได้

? ? ? ? ? ?-ก้อนจากการอุดตันของท่อน้ำนม (plugged duct) มักจะพบในมารดาที่ใส่เสื้อชั้นในคับจนเกินไปจนขัดขวางการไหลของน้ำนมในท่อน้ำนม เกิดท่อน้ำนมอุดตัน เป็นก้อน กดเจ็บ การประคบร้อนและนวดเต้านมบริเวณที่เป็นก้อนจะช่วยในการรักษาได้

? ? ? ? ? ?-เต้านมอักเสบ ารดาจะมีไข้ร่วมด้วย เต้านมจะบวม แดง และร้อน อาจคลำได้เป็นก้อนแข็งในบางจุด ซึ่งจะกดเจ็บ การรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยคือเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังจำพวก staphyolococcus หรือ streptococcus

? ? ? ? ? ?-ฝีที่เต้านม อาการจะคล้ายกับเต้านมอักเสบ แต่จะคลำได้เป็นก้อนหยุ่นๆ เป็นลักษณะของฝีในบริเวณที่กดเจ็บ ผิวหนังเหนือบริเวณที่เกิดฝีที่คล้ำเป็นสีม่วง ภาวะฝีที่เต้านมเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จำเป็นต้องมีการระบายหนองออก โดยทั่วไปใช้การเจาะดูดออกร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ

? ? ? ? ? ?-การอักเสบจากการติดเชื้อรา มารดาจะมีอาการเจ็บหัวนมร้าวไปที่เต้านม โดยลักษณะการเจ็บจะเจ็บจี๊ดร้าวไปด้านหลัง ผิวหนังบริเวณหัวนมจะมีลักษณะเป็นสะเก็ด มัน และสีชมพู มักพบในมารดาที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างการคลอด หรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน มารดาที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมารดาที่เป็นเบาหวาน การรักษาในมารดาสามารถใช้ยาฆ่าเชื้อยาชนิดรับประทานหรือยาทา และทายา gentian violet ในปากทารกเพื่อร่วมในการรักษาด้วย ?

? ? ? ? ? ? สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมอื่นๆ ได้แก่ การเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณเต้านม (eczema) การเกิดผิวหนังอักเสบจากการเป็นมะเร็ง (Paget disease) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมและอาการคันบริเวณผิวหนังบริเวณหัวนมหรือเต้านมได้ นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บหัวนมหลังการดูดนมใหม่ๆ หรือขณะอากาศเย็น หรือหลังการอาบน้ำ อาจเป็นอาการเจ็บหัวนมจากเส้นเลือดหดรัดตัวผิดปกติ (Raynaud phenomenon) ซึ่งการเช็ดหัวนมให้แห้งและหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็นจะช่วยในการรักษาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.