รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ทารกที่มีความผิดปกติในช่องปากที่พบเห็นกันบ่อย ได้แก่ ภาวะปากแหว่งเพดาโหว่ ความผิดปกติในช่องปากของทารกนี้ จะส่งผลให้ทารกไม่สามารถสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมได้ จึงจำเป็นสำหรับมารดาที่ต้องปรับเปลี่ยนท่าที่ให้นมและให้การช่วยเหลือทารกให้ดูดนมได้ การจัดท่ามีความสำคัญสำหรับทารกกลุ่มนี้อย่างมาก หากทารกมีภาวะปากแหว่ง หากมารดาสามารถจัดท่าให้เนื้อของเต้านมมาประกบติดกับบริเวณที่มีปากแหว่ง ทำให้ทารกสามารถสร้างแรงดูดที่เพียงพอที่จะดูดนมได้ นอกจากนี้ การให้นมท่านั่งหลังตรงในทารกที่มีปากแหว่งเพดาโหว่ยังช่วยป้องกันการสำลักได้ อย่างไรก็ตาม หากทารกยังกระตุ้นดูดนมแม่ไม่ได้ดี การบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมจะช่วยให้มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก
? ? ? ? ? ?ความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อยอีกสาเหตุหนึ่ง ได้แก่ ภาวะลิ้นติด ซึ่งหากมีภาวะลิ้นติดมากอาจสังเกตได้ง่าย ซึ่งภาวะนี้จะทำให้ทารกยื่นลิ้นไปประกบและกดไล่น้ำนมจากลานนมได้ไม่ดี จนต้องออกขบกดหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนม การผ่าตัดแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่มในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงมาก จะช่วยให้ทารกเข้าเต้าและดูดนมได้ดีขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.