การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดกลุ่มอาการดาวน์

hand expression7-2

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ปัจจุบัน สตรีมีการแต่งงานและมีบุตรช้าลง โดยอายุที่แต่งงานหรือมีบุตรสูงขึ้น เมื่อมารดาอายุเกิน 35 ปี ความเสี่ยงในการที่จะมีบุตรที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ก็เพิ่มขึ้นตามอายุ แม้มีการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการดาวน์ในทารกระหว่างการตั้งครรภ์ได้ แต่มารดาบางคนอาจเลือกที่จะดูแลทารกแม้ทารกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ในทารกกลุ่มนี้จะมีแรงของกล้ามเนื้ออ่อนลง การดูดกระตุ้นน้ำนมจากเต้านมจะทำได้ไม่ดี? การกินนมจากเต้าอาจเหนื่อยอ่อนและกินนมไม่เพียงพอ นอกจากนี้ อาจพบความผิดปกติของหัวใจหรือไตร่วมด้วยได้ ดังนั้น การให้นมแม่ในทารกกลุ่มอาการดาวน์ หากทารกไม่มีแรงดูดนมจากเต้าในช่วงแรก อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้นม โดยอาจใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่น้ำนมและบีบช่วยให้น้ำนมไหลขณะทารกดูดนม เมื่อฝึกให้ทารกแข็งแรงดูดนมได้ดีขึ้นแล้วจึงให้ดูดนมจากเต้าโดยตรง ซึ่งมารดาจำเป็นต้องบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มกระตุ้นน้ำนมด้วย เนื่องจากทารกไม่มีแรงกระตุ้นจากการดูดนมได้ดีพอ การฝึกทารกให้ดูดนมร่วมกับการโอบอุ้มทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยพัฒนาการของระบบประสาทและการสั่งงานของกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ทารกจะดูดนมจากเต้านมได้ เช่นเดียวกันกับประโยชน์ของนมแม่ในทารกปกติ แต่ประโยชน์ของนมแม่ในทารกกลุ่มอาการดาวน์เห็นได้ชัดเจนกว่า คือนอกจากจะช่วยเรื่องพัฒนาการและระดับความฉลาดแล้ว นมแม่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่จะเกิดจากการติดเชื้อในทารกกลุ่มอาการดาวน์ลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.