การสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38208304

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน ทั้งด้านความพอเพียงของผู้มีความรู้ที่จะให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นโยบายของสถานพยาบาล ทัศนคติของบุคลากรและแพทย์ผู้บริการ ความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สภาวะของครอบครัว สภาพแวดล้อม สวนสาธารณะ ร้านค้า ร้านอาหาร หรือสถานบริการที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสถานประกอบการที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ในวันที่ 1-7 สิงหาคม 2558 นี้ เป็นสัปดาห์นมแม่โลก องค์การอนามัยโลกได้รณรงค์ให้ช่วยเหลือคุณแม่ที่ทำงานให้ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากสาเหตุที่สำคัญในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนคือ การกลับไปทำงานของมารดา1 ดังนั้น กำลังสำคัญที่จะสนับสนุนให้มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือน ได้แก่ ภาคส่วนของสถานประกอบการ ในประเทศไทยควรถือโอกาสเนื่องในวันแม่แห่งชาติ นอกจากจะมีการระลึกถึงพระคุณของแม่ที่มีมากล้นแล้ว การเชิญชวนให้ระลึกถึงคุณค่าของนมแม่และช่วยให้แม่ที่ต้องทำงานให้ได้ให้นมแม่แก่ลูกได้ น่าจะเป็นการช่วยที่ประเสริฐสุด ซึ่งการช่วยสร้างกระแส ?ช่วยแม่ทำงานให้ ให้นมลูกได้? น่าจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทยที่มีความเอื้อเฟื้อและเห็นอกเห็นใจ โดยการให้ 3 การให้ คือ ให้พื้นที่ ให้โอกาส และให้เวลาแก่มารดาที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  • ให้พื้นที่ คือ การจัดสถานที่ที่เหมาะสำหรับการบีบเก็บน้ำนมสำหรับแม่ที่ทำงานเก็บไว้ให้ลูกกินที่บ้าน
  • ให้โอกาส คือ มีนโยบายสนับสนุนช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในขณะแม่กลับมาทำงาน
  • ให้เวลา คือ การจัดเวลาพักให้มารดาบีบเก็บน้ำนมระหว่างวัน เพื่อช่วยคงการสร้างนมแม่

การให้สิ่งเหล่านี้จากสถานประกอบการ น่าจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province J Med Health Sci 2009;16:116-23.