การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาตั้งแต่ระยะแรกในมารดาที่ผ่าตัดคลอด

รูปภาพ3

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดา (skin-to-skin contact) ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะช่วยในการพัฒนาการของทารกทั้งด้านร่างกาย พัฒนาระบบประสาท พัฒนาด้านจิตใจและอารมณ์ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาเร็วที่สุดหลังคลอด โดยเช็ดตัวทารกให้แห้งแล้วสามารถวางทารกไว้บนอกมารดา และอาจคลุมผ้าอีกทีเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิ การดูแลอย่างอื่น เช่น การฉีดวัคซีน อาจพิจารณาทำหลังจากช่วยให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้ว

? ? ? ? ? ? ? ? ในมารดาที่คลอดปกติ อุปสรรคในการดูแลการให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาในระยะแรกหลังคลอดจะน้อยกว่าในมารดาที่ผ่าตัดคลอด เนื่องจากความวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเย็น หรือการจำกัดการเคลื่อนไหวของมารดา ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดในปัจจุบัน นิยมใช้ยาระงับความรู้สึกฉีดเข้าไขสันหลัง ซึ่งหากมารดาไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด การให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาในห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น สามารถทำได้เช่นเดียวกับการคลอดปกติ1 อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ท้าทายในการบริหารจัดการให้เกิดระบบที่มีการยอมรับได้ในบุคลากรทางการแพทย์สหสาขาที่ร่วมช่วยกันดูแลมารดาที่ผ่าตัดคลอด ซึ่งหวังว่า ทีมส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละโรงพยาบาลจะสามารถปฏิบัติได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Burke-Aaronson AC. Skin-to-skin care and breastfeeding in the perioperative suite. MCN Am J Matern Child Nurs 2015;40:105-9.