รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? มนุษย์มีพัฒนาการของมดลูกเพื่อการตั้งครรภ์และมีพัฒนาการของช่องคลอดสำหรับการคลอด การผ่าตัดคลอดเป็นการรักษาในมารดาบางคนที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ แต่ในปัจจุบันมีการผ่าตัดคลอดในมารดาที่มีความเสี่ยงต่ำโดยไม่จำเป็นมากขึ้น โดยอาจเนื่องจากความวิตกกังวลหรือกลัวเรื่องการฟ้องร้องจากมารดาและครอบครัว ทำให้อัตราการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลรัฐบาลสูงราวร้อยละ 40-50 และอัตราการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลเอกชนสูงราวร้อยละ 70-80 มีการศึกษาถึงผลระยะยาวที่เกิดกับทารกที่ผ่าตัดคลอด พบว่า ทารกที่ผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 โรคหอบหืด และโรคอ้วนสูงกว่าทารกที่คลอดทางช่องคลอด1 รายละเอียดมีดังนี้
??????????????? ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 21.3 ในขณะที่ทารกที่คลอดทางช่องคลอดมีโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 ร้อยละ 19
??????????????? ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดโรคหอบหืดร้อยละ 9.5 ในขณะที่ทารกที่คลอดทางช่องคลอดมีโอกาสเกิดโรคหอบหืดร้อยละ 7.9
??????????????? ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดมีโอกาสเกิดโรคอ้วนร้อยละ 19.4 ในขณะที่ทารกที่คลอดทางช่องคลอดมีโอกาสเกิดโรคอ้วนร้อยละ 15.8
??????????????? ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลความรู้ ความเข้าใจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และค่านิยมของมารดา ครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ และแพทย์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยลดความเสี่ยงในระยะยาวแก่ทารกที่จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นอนาคตของชาติ
เอกสารอ้างอิง
- Blustein J, Liu J. Time to consider the risks of caesarean delivery for long term child health. BMJ 2015;350:h2410.