การให้นมแม่ในมารดาที่เป็นมะเร็งปากมดลูกที่รักษาด้วยรังสีรักษา

radiation_hazard_poster

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? มารดาที่เป็นมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา รูปแบบจะมีลักษณะการให้รังสีรักษา 2 รูปแบบ คือ การฉายรังสีรักษาภายนอก (external beam radiation therapy) บริเวณอุ้งเชิงกรานโดยจะให้รังสีรักษาขนาด 1.8?2 Gy เป็นระยะเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ นาน 5?6 สัปดาห์ และการฝังแร่ (brachytherapy) ในโพรงมดลูกเพื่อให้ได้รับรังสีรักษาขนาด 80-85 Gy1 ซึ่งจะมีทั้งให้แบบรังสีขนาดสูงในระยะเวลาสั้นที่สามารถดูแลผู้ป่วยในลักษณะผู้ป่วยนอกและให้รังสีขนาดต่ำที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 1-2 วัน2 จะเห็นว่ามารดาในกลุ่มนี้จะได้รับการฉายรังสีรักษาภายนอกนานเป็นเดือน ซึ่งระหว่างการได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา มารดาจะมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องเสีย ทางเดินอาหารอักเสบ การดูดซึมสารอาหารผิดปกติ3,4 รับประทานอาหารได้น้อย แม้จะไม่ได้รับรังสีบริเวณเต้านม ทารกสามารถกินนมแม่ได้ แต่มารดาอาจอ่อนเพลียและรับประทานอาหารได้น้อย การสร้างนมแม่อาจไม่เพียงพอ การขอรับนมบริจาคจากธนาคารนมแม่หรือการเสริมนมผสมอาจจำเป็นในกรณีที่ทารกมีการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ สำหรับช่วงที่มารดาได้รับการฝังแร่ มารดาต้องงดการให้นมลูก แต่การกระตุ้นโดยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมอาจจำเป็นเพื่อคงให้การสร้างน้ำนมมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

หนังสืออ้างอิง

  1. Matsuura K, Okabe T, Fujita K, Tanimoto H, Akagi Y, Kagemoto M. Clinical results of external beam radiotherapy alone with a concomitant boost program or with conventional fractionation for cervical cancer patients who did not receive intracavitary brachytherapy. J Radiat Res 2012;53:900-5.
  2. Hareyama M, Sakata K, Oouchi A, et al. High-dose-rate versus low-dose-rate intracavitary therapy for carcinoma of the uterine cervix: a randomized trial. Cancer 2002;94:117-24.
  3. Petereit DG, Sarkaria JN, Chappell R, et al. The adverse effect of treatment prolongation in cervical carcinoma. Int J Radiat Oncol Biol Phys 1995;32:1301-7.
  4. Gothard L, Cornes P, Brooker S, et al. Phase II study of vitamin E and pentoxifylline in patients with late side effects of pelvic radiotherapy. Radiother Oncol 2005;75:334-41.