รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? -หากในชุมชนไม่มีกลุ่มสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก่อนมารดาจะกลับบ้าน ควร
- อภิปรายกับครอบครัวถึงสิ่งที่ช่วยสนับสนุนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยหากเป็นไปได้ ควรพูดกับสมาชิกในครอบครัวว่าจะช่วยอะไรได้บ้างเมื่อมารดากลับบ้าน
- ได้รับชื่อของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลหรือคลินิกนมแม่ที่มารดาจะขอคำปรึกษาได้ และควรมีการนัดมารดาและทารกกลับมาในสัปดาห์เพื่อติดตามและสังเกตการให้นมบุตร และควรมีคลินิกที่พร้อมเปิดให้มารดามาปรึกษาได้ตลอดเวลาหากพบปัญหาหรือความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ในการนัดตรวจหลังคลอดที่หกสัปดาห์ มารดาควรนำทารกมาด้วยเพื่อทารกจะได้รับการประเมินสุขภาพและได้รับการติดตามด้วย
- ย้ำเตือนมารดาถึงประเด็นสำคัญในการให้ลูกกินนมแม่
- การจดบันทึกหรือพิมพ์เอกสารเพื่อเตือนความทรงจำให้กับมารดาในประเด็นสำคัญต่างๆ อาจจะเป็นประโยชน์ โดยเอกสารนี้ไม่ควรเป็นของบริษัทนมผสม
- ขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อมารดาไว้เพื่อโทรศัพท์สอบถามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลให้บุคลากรได้เรียนรู้หลังมารดากลับบ้าน
-บางโรงพยาบาลอาจจะจัดเป็นคลินิกสำหรับให้นมแม่ที่มารดาสามารถมาให้นมแม่ เก็บน้ำนมหรือรับคำปรึกษาอื่นๆ ได้เมื่อมารดามีความยากลำบากในการให้นมลูก
หนังสืออ้างอิง
- WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009