รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
-ปริมาณน้ำนมที่ทารกกินในแต่ละมื้อจะแตกต่างกันโดยข้อมูลนี้จะเป็นความจริงกับทุกชนิดของอาหารทารก หากทารกกินนมน้อย ควรขยับเวลาการป้อนนมมื้อต่อไปให้เร็วขึ้นเล็กน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทารกมีสัญญาณของอาการหิว การวัดปริมาณนมเพื่อพิจารณาปริมาณนมที่ทารกได้รับควรวัดทั้งวัน การวัดในแต่มื้อแล้วตัดสินใจจะไม่เหมาะสม นมที่เสริมอาจใช้การให้โดยสายยางหากทารกอ่อนแอเกินกว่าที่จะป้อนนมด้วยถ้วย
-หากมารดาไม่เคยป้อนนมด้วยถ้วย ควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้อนนมด้วยถ้วยและให้มารดาได้เห็นตัวอย่างของขั้นตอนและการปฏิบัติในการป้อนนมด้วยถ้วย การสอนให้มารดามีทักษะในการป้อนนมด้วยถ้วยควรสอนในแนวทางที่ให้มารดามีความมั่นใจในการให้นมได้ด้วยตนเอง
-ถ้วยไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดถึงขนาดปราศจากเชื้อเหมือนขวดนมหรือจุกนมเทียม เนื่องจากปากของภาชนะกว้างและผิวของถ้วยเกลี้ยง การทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานปกติก็สามารถใช้ได้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงแก้วที่มีร่องเป็นทางบริเวณที่จรดริมฝีปากหรือมีผิวที่ไม่เรียบเพราะจะยากในการทำความสะอาดและเป็นแหล่งที่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโต
-ทารกอาจจะมีพัฒนาการจากการป้อนด้วยสายยาง ถัดมาป้อนนมด้วยถ้วย และต่อมาสามารถจะดูดนมจากเต้านมได้เต็มที่ โดยไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้การดูดนมจากขวดหรือจากจุกนมเทียมในระหว่างการพัฒนาการเลย
หนังสืออ้างอิง
1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009