บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยมารดาและทารกในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังผ่าตัดคลอดได้อย่างไร?

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การมีบุคลากรทางการแพทย์ที่สนับสนุนเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการผ่าตัดคลอด โดย

??????????? -กระตุ้นให้มีการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้

-การช่วยเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะเริ่มเมื่อมารดาและทารกส่งสัญญาณว่ามีความพร้อม โดยมารดาไม่จำเป็นลุกนั่ง โอบกอดหรือต้องขยับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูกได้ แต่จะเป็นทารกที่จะค้นหาเต้านมและเริ่มดูดนมเอง การปฏิบัตินี้สามารถทำได้นานตราบเท่าที่มีบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าดูอยู่ แม้มารดาจะยังง่วงซึมจะฤทธิ์ของยาดมสลบก็ตาม

-การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สามารถจัดท่าทารกเข้าเต้าได้

-ต้องจัดให้มารดาและทารกอยู่ในห้องเดียวกันพร้อมให้การช่วยเหลือเมื่อจำเป็น จนกระทั่งมารดาสามารถดูแลทารกเองได้

-เมื่อมีการสนับสนุนและให้ความรู้กับมารดา การที่นอนโรงพยาบาลนานขึ้นหลังการผ่าตัดคลอด อาจจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น

 

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

?????

?