รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การลดการเจ็บครรภ์คลอด มีการใช้วิธีดังนี้
- การคลอดในน้ำ เชื่อว่าการคลอดในน้ำช่วยให้มารดาผ่อนคลาย ลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอด และช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดไปที่มดลูกดีขึ้น มีการศึกษาว่าการคลอดในน้ำใช้ยาแก้ปวดน้อยกว่า ระยะของการคลอดระยะที่หนึ่งและสองสั้นกว่า สำหรับ Apgar score ของทารก ความเป็นกรดและด่างของเลือดในเส้นเลือดแดงและดำของทารก อัตราการย้ายเข้าหอทารกวิกฤตและอัตราการติดเชื้อไม่แตกต่างกัน8
- การฉีดน้ำเข้าใต้ผิวหนัง การฉีดน้ำ 0.1 มิลลิลิตรเป็นตุ่มนูนใต้ผิวหนัง 4 จุดบริเวณหลังจะช่วยลดอาการปวดโดยดึงความสนใจไปที่ที่ฉีด จะบรรเทาอาการปวดได้ 2-3 ชั่วโมงและสามารถให้ซ้ำได้9
- ท่าระหว่างการรอคลอดและเบ่งคลอด ในระยะที่หนึ่งของการคลอด ระหว่างรอคลอดการอยู่ในท่ายืนจะช่วยบรรเทาอาการปวด ในระยะที่สองของการคลอด ระหว่างการเบ่งคลอดการอยู่ในท่านั่งยองๆ จะช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยให้การคลอดง่ายขึ้นด้วย10
- การสั่งจิตตนเอง (self-hypnosis) เป็นวิธีที่ตนเองสั่งจิตของตนเองให้รับคำสั่งเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยในกรณีนี้ส่งให้อาการเจ็บปวดระหว่างการคลอดน้อยลง ในมารดาที่ได้รับการสอนให้สั่งจิตตนเองจะลดการยาแก้ปวดในระหว่างการคลอด11
- การฝังเข็ม การฝังเข็มที่จุด LI4 และ BL67 มีการศึกษาพบว่า ช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอด ลดระยะเวลาในการคลอดระยะที่ นอกจากนี้การฝังเข็มยังลดการใช้ยาแก้ปวดชนิด narcotics และ epidural และลดการใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกลง12
- การประคบร้อน การเริ่มการประคบร้อนบริเวณฝีเย็บในระยะท้ายของการเบ่งคลอดจะช่วยลดอาการปวดระหว่างการคลอดและหลังคลอด ลดความเสี่ยงในการฉีดขาดของฝีเย็บที่ระดับสามและสี่ และอาจจะช่วยลดการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดในระยะสามเดือนหลังคลอด13
หนังสืออ้างอิง
1.???????? McFarlin BL, Gibson MH, O’Rear J, Harman P. A national survey of herbal preparation use by nurse-midwives for labor stimulation. Review of the literature and recommendations for practice. J Nurse Midwifery 1999;44:205-16.
2.???????? Dove D, Johnson P. Oral evening primrose oil: its effect on length of pregnancy and selected intrapartum outcomes in low-risk nulliparous women. J Nurse Midwifery 1999;44:320-4.
3.???????? Simpson M, Parsons M, Greenwood J, Wade K. Raspberry leaf in pregnancy: its safety and efficacy in labor. J Midwifery Womens Health 2001;46:51-9.
4.???????? Kelly AJ, Kavanagh J, Thomas J. Castor oil, bath and/or enema for cervical priming and induction of labour. Cochrane Database Syst Rev 2001:CD003099.
5.???????? Qiu H, Zhu H, Ouyang W, Wang Z, Sun H. Clinical effects and mechanism of chanlibao in accelerating second stage of labor. J Tongji Med Univ 1999;19:141-4.
6.???????? Smith CA, Crowther CA. Acupuncture for induction of labour. Cochrane Database Syst Rev 2004:CD002962.
7.???????? Rabl M, Ahner R, Bitschnau M, Zeisler H, Husslein P. Acupuncture for cervical ripening and induction of labor at term–a randomized controlled trial. Wien Klin Wochenschr 2001;113:942-6.
8.???????? Zanetti-Dallenbach R, Lapaire O, Maertens A, Holzgreve W, Hosli I. Water birth, more than a trendy alternative: a prospective, observational study. Arch Gynecol Obstet 2006;274:355-65.
9.???????? Trolle B, Moller M, Kronborg H, Thomsen S. The effect of sterile water blocks on low back labor pain. Am J Obstet Gynecol 1991;164:1277-81.
10.?????? Simkin PP, O’Hara M. Nonpharmacologic relief of pain during labor: systematic reviews of five methods. Am J Obstet Gynecol 2002;186:S131-59.
11.?????? Smith CA, Collins CT, Cyna AM, Crowther CA. Complementary and alternative therapies for pain management in labour. Cochrane Database Syst Rev 2006:CD003521.
12.?????? Ramnero A, Hanson U, Kihlgren M. Acupuncture treatment during labour–a randomised controlled trial. BJOG 2002;109:637-44.
13.?????? Dahlen HG, Homer CS, Cooke M, Upton AM, Nunn R, Brodrick B. Perineal outcomes and maternal comfort related to the application of perineal warm packs in the second stage of labor: a randomized controlled trial. Birth 2007;34:282-90.