การให้ลูกกินนมแม่ช่วยป้องกันโรคอ้วนในเด็กเล็ก

 รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในกระบวนการกินนมแม่ ทารกจะต้องออกแรงในการดูดนมจากเต้า แม้ว่าจะมีกลไกน้ำนมพุ่งซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนออกซิโตซินที่จะช่วยให้น้ำนมแม่ไหลจากต่อมน้ำนมมาที่ท่อน้ำนมได้ดี การที่ทารกต้องออกแรงในการดูดนมเมื่อทารกหิว จะเป็นกลไกหนึ่งที่จะทำให้ทารกควบคุมการกินตามความต้องการของตน เมื่อทารกอิ่มทารกก็จะหยุดออกแรงในการดูดนม กระบวนการนี้จะฝึกให้ทารกรู้จักควบคุมการกินและจะช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น มีการศึกษาพบว่าทารกที่กินนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนในวัยเด็กได้ร้อยละ 27-371 โดยที่ยิ่งกินนมแม่เหตุผลได้นาน ยิ่งช่วยป้องกันหรือลดการเกิดโรคอ้วนได้มากขึ้น ดังนั้น การให้ลูกกินนมแม่จึงเป็นเสมือนปราการด่านแรกในการป้องกันการเกิดโรคอ้วนที่จะนำไปสู่การเกิดโรคทางเมตาบอลิกอื่น ๆ และเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

1.        Anderson CE, Whaley SE, Crespi CM, Wang MC, Chaparro MP. Every month matters: longitudinal associations between exclusive breastfeeding duration, child growth and obesity among WIC-participating children. J Epidemiol Community Health 2020;74:785-91.