รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หากสามารถเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด จะเป็นผลดีต่ออัตราและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีคำถามว่า ปัจจัยอะไรระหว่างการคลอดที่เป็นอุปสรรคต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาวิจัยที่ตอบคำถามนี้ โดยพบว่า การใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มมอร์ฟีนให้แก่มารดาในระหว่างการคลอด จะลดการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดลงร้อยละ 22 การใช้หัตถการในการช่วยคลอดทางช่องคลอด ได้แก่ การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ และการใช้คีมช่วยคลอด จะลดการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดลงร้อยละ 26 ขณะที่การผ่าตัดคลอดจะลดการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดลงร้อยละ 701 ดังนั้น จะเห็นว่าการผ่าตัดคลอดเป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากที่สุด การลดการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็นจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรร่วมมือรณรงค์ เพราะนอกจากจะมีส่วนช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว ยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับมารดาและทารก และลดการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่ขาดความคุ้มค่าลงด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Fan HSL, Wong JYH, Fong DYT, Lok KYW, Tarrant M. Association Between Intrapartum Factors and the Time to Breastfeeding Initiation. Breastfeed Med 2020.