แนวทางการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับโรงพยาบาล ตอนที่ 3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรในระหว่างการคลอด1,2

            ข้อมูลในระหว่างการคลอด

  • มารดาที่มีการคลอดที่เนิ่นนาน (ครรภ์แรก ≥ 20 ชั่วโมง และครรภ์หลัง ≥ 14 ชั่วโมง)
  • มารดาที่มีการกระตุ้นหรือชักนำการคลอดนาน (≥ 14 ชั่วโมง)
  • มารดาที่มีการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มมอร์ฟีนในระหว่างการคลอด
  • มารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการคลอด ได้แก่ โรคเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (gestational hypertension)  ครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) มารดาที่มีการติดเชื้อโดยเฉพาะเป็นการติดเชื้อของรกและถุงน้ำคร่ำ และมารดาที่มีการตกเลือดหลังคลอด

ข้อมูลทารกจากการประเมินเบื้องต้น

  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
  • ทารกครรภ์แฝด
  • ทารกที่มีความผิดปกติของกายวิภาคในช่องปาก ได้แก่ ทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ ลิ้นใหญ่คับปาก คางเล็ก และทารกที่มีภาวะลิ้นติด
  • ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาท ได้แก่ กลุ่มโรคทางพันธุกรรมที่มีกล้ามเนื้อเกร็งตัว (hypertonia) หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ (hypotonia)
  • ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะตัวเหลือง หายใจเร็ว มีภาะขาดออกซิเจนในครรภ์ มีการติดเชื้อ หรือมีการบาดเจ็บระหว่างการคลอด

เอกสารอ้างอิง

1.         Feldman-Winter L, Kellams A, Peter-Wohl S, et al. Evidence-Based Updates on the First Week of Exclusive Breastfeeding Among Infants >/=35 Weeks. Pediatrics 2020;145.

2.         Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.