แนวทางการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับโรงพยาบาล ตอนที่ 2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรในคลินิกฝากครรภ์1,2

            ข้อมูลสุขภาพและประวัติทั่วไปของมารดา

  • มารดาวัยรุ่น (มารดาที่อายุน้อยกว่า 20 ปีเมื่อคิดอายุจนถึงวันกำหนดคลอด)
  • มารดาที่อายุมาก (มารดาที่อายุมากกว่า 40 ปีเมื่อคิดอายุจนถึงวันกำหนดคลอด)
  • มารดาที่มีหัวนมบอด หัวนมแบน หรือหัวนมสั้น (ความยาวหัวนมสั้นกว่า 0.5 เซนติเมตร)
  • มารดาที่อ้วน (ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 27 kg/m2)
  • มารดาที่สูบบุหรี่
  • มารดาที่มีโรคประจำตัวที่จะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ กลุ่มอาการถุงน้ำมากในรังไข่ (polycystic ovarian syndrome) เป็นต้น
  • มารดาที่มีประวัติการผ่าตัดเต้านมทั้งการผ่าตัดก้อนที่เต้านม และการผ่าตัดเสริมเต้านม

ประวัติทางสูตินรีเวช

  • มารดาครรภ์แรก
  • มารดาที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อน หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร หรือให้ลูกกินนมแม่แล้วทารกน้ำหนักขึ้นน้อย
  • มารดาที่ขาดการตึงคัดเต้านมในระหว่างการตั้งครรภ์หรือในขณะย่างเข้าสู่วัยรุ่น
  • มารดาที่มีประวัติการมีฝีที่เต้านม
  • มารดาที่มีบุตรยาก หรือใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

เอกสารอ้างอิง

1.         Feldman-Winter L, Kellams A, Peter-Wohl S, et al. Evidence-Based Updates on the First Week of Exclusive Breastfeeding Among Infants >/=35 Weeks. Pediatrics 2020;145.

2.         Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Paritakul P, Ketsuwan S, Wongin S. Nipple length and its relation to success in breastfeeding. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 1:S1-4.