รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การวินิจฉัย นิยมทำเป็นสองขั้นตอน ได้แก่ การตรวจคัดกรองด้วยการรับประทานน้ำตาล 50 กรัมแล้วทำการตรวจค่าน้ำตาลในพลาสม่า (glucose challenge test หรือ GCT) ค่าการตรวจคัดกรองที่ถือว่าเป็นบวกเมื่อมีค่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป และตรวจวินิจฉัยต่อด้วยการตรวจทดสอบค่าความทนต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test หรือ OGTT) หลังรับประทานน้ำตาล 100 กรัม โดยใช้เกณฑ์ของกลุ่มข้อมูลเบาหวานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Diabetes Data Group) ซึ่งกำหนดค่าน้ำตาลในพลาสม่าก่อนการกินน้ำตาลเท่ากับ 105 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และค่าน้ำตาลในพลาสม่าหลังกินน้ำตาลที่ชั่วโมงที่ 1,2 และ 3 เท่ากับ 190,165 และ 145 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ โดยหากค่าผิดปกติตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไปถือว่า การทดสอบเป็นบวกคือเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีบางข้อแนะนำที่ให้ใช้ค่าผิดปกติเพียง 1 ค่าให้ถือว่าการทดสอบเป็นบวก ซึ่งการใช้เกณฑ์นี้ยังมีจำกัดเฉพาะในบางแห่ง1
เอกสารอ้างอิง
- Committee on Practice B-O. ACOG Practice Bulletin No. 190: Gestational Diabetes Mellitus. Obstet Gynecol 2018;131:e49-e64.