รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การประเมินการให้นมลูกด้วย Infant breastfeeding assessment tool เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 4 ตัวแปรคือ ความพร้อมในการรับนม การเขี่ยให้อ้าปากกว้าง การอมคาบหัวนมและลานนม และรูปแบบการดูดนม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 12 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาลหรือมารดา การแปลผล หากคะแนนการประเมินเท่ากับ 10-12 แสดงว่าการให้นมมีประสิทธิภาพดี คะแนนการประเมินเท่ากับ 7-9 แสดงว่าการให้นมมีประสิทธิภาพปานกลาง คะแนนการประเมินเท่ากับ 0-6 แสดงว่าการให้นมไม่มีประสิทธิภาพ
สำหรับประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater correlation and reliability) พบว่ามี 0.27-0.691 และร้อยละ 912 แต่ขาดความสามารถในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่อายุ 4 สัปดาห์2 คะแนนมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำนม แต่ไม่สามารถแยกทารกที่ดูดนมได้เพียงพอกับทารกที่ดูดนมได้ไม่เพียงพอ3 และยังมีความแม่นยำ (validity) ในการบ่งบอกปัญหาและความพึงพอใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำ4 เกณฑ์การประเมิน Infant breastfeeding assessment tool แสดงในรูป5
เอกสารอ้างอิง
- Riordan JM, Koehn M. Reliability and validity testing of three breastfeeding assessment tools. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1997;26:181-7.
- Matthews MK. Developing an instrument to assess infant breastfeeding behaviour in the early neonatal period. Midwifery 1988;4:154-65.
- Furman L, Minich NM. Evaluation of breastfeeding of very low birth weight infants: can we use the infant breastfeeding assessment tool? J Hum Lact 2006;22:175-81.
- Schlomer JA, Kemmerer J, Twiss JJ. Evaluating the association of two breastfeeding assessment tools with breastfeeding problems and breastfeeding satisfaction. J Hum Lact 1999;15:35-9.
- กุสุมา ชูศิลป์. การประเมินทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่. ใน: ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ไอยรา จำกัด; 2555:163-71.