รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่ทารกดูดจุกนมเทียมหรือจุกนมของขวดนม จะทำให้ทารกดูดนมแม่ได้ยากขึ้นได้ เนื่องจากลักษณะการดูดนมแม่จากเต้านมและการดูดนมจากจุกนมเทียมมีความแตกต่างกัน1 โดยการดูดนมจากจุกนมเทียมทารกไม่ได้แลบลิ้นออกมาเพื่อประกบกับจุกนมเทียมและไม่ได้ใช้ลิ้นกดจุกนมเทียมเหมือนในกรณีที่ดูดนมจากเต้านมมารดา ซึ่งทารกต้องใช้ลิ้นกดบริเวณลานนมเพื่อช่วยไล่น้ำนมจากท่อน้ำนมมาที่หัวนม นอกจากนี้ นมจากรูของจุกนมเทียมจะใหญ่ ทำให้นมในขวดนมที่ใส่จุกนมเทียมนั้นไหลได้ง่ายกว่าการดูดจากเต้านมแม่ ทำให้ทารกแทบไม่ต้องออกแรงดูด ทารกที่มีการเริ่มดูดนมจากจุกนมเทียมจึงอาจมีการสับสนหัวนม (nipple confusion) ซึ่งก็คือเมื่อติดการดูดนมจากจุกนมเทียมแล้ว เมื่อมาดูดนมจากเต้า ทารกจะปฏิบัติตัวไม่ถูก2 ทำให้ดูดนมแม่จากเต้าไม่ออกหรือออกช้า ทารกหงุดหงิด ร้องกวน จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรและมีระยะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้น3 กลไกหรือลักษณะการดูดนมจากจุกนมเทียมแสดงดังรูป4
เอกสารอ้างอิง
- Batista CLC, Ribeiro VS, Nascimento M, Rodrigues VP. Association between pacifier use and bottle-feeding and unfavorable behaviors during breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2018;94:596-601.
- Zimmerman E. Pacifier and bottle nipples: the targets for poor breastfeeding outcomes. J Pediatr (Rio J) 2018;94:571-3.
- Martins RFM, Lima A, Ribeiro CCC, Alves CMC, da Silva AAM, Thomaz E. Lower birthweight, shorter breastfeeding and lack of primary health care contributed to higher pacifier use in a birth cohort. Acta Paediatr 2018.
- ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.