รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ธนาคารนมแม่เป็นที่รับบริจาคน้ำนมจากมารดาผู้บริจาคนมแม่ เก็บรักษา และแจกจ่ายให้กับสถานพยาบาลที่มีความจำเป็นในการใช้นมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือเจ็บป่วยที่อยู่ในหอทารกวิกฤต ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา จึงมีความพยายามจะจัดมาตรฐานของการบริจาคน้ำนมและธนาคารนมแม่1 ในสังคมข้อมูลข่าวสาร ความต้องการนมแม่สูงเนื่องจากทราบถึงคุณประโยชน์ของนมแม่ แต่มารดาผู้บริจาคนมแม่มีจำกัด จึงมีความต้องการมารดาผู้บริจาคนมแม่มีสูงขึ้น มารดาที่บริจาคน้ำนมจะได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและความเจ็บป่วยอื่น ๆ น้ำนมที่เก็บได้จะได้รับการพลาสเจอไรส์2 การคัดกรองมารดาผู้บริจาคนมแม่ควรมีแบบสอบถามการใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่ของสามี วิธีและเวลาในการเก็บน้ำนมด้วย3 เพื่อช่วยในการประเมินคุณภาพของน้ำนม ธนาคารนมแม่พบมีการจัดตั้งในยุโรป4-6 ออสเตรเลีย บราซิล7 แอฟริกา8 และในไต้หวัน โดยลักษณะผู้บริจาคนมแม่จะจบการศึกษาระดับวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นครรภ์แรกและคลอดลูกครบกำหนด สำหรับนมจากธนาคารนมแม่จะใช้สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากที่สุด9
การใช้นมบริจาคจากธนาคารนมแม่เป็นทางเลือกในระยะสั้น ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรอภิปรายถึงของจำกัด และควรให้มารดาเตรียมการให้นมรูปแบบอื่นสำหรับทารกต่อไป มีการศึกษาพบว่าในนมแม่จากมารดาผู้ที่บริจาคมีปริมาณพลังงานต่ำเมื่อเทียบกับความต้องการพลังงานของทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่ต้องการการใช้นมแม่จากธนาคารนมแม่ จึงจำเป็นต้องมีการแนะนำปรับวิธีการเก็บของมารดาผู้บริจาคนมแม่ให้เหมาะสม เพื่อให้ได้น้ำนมส่วนหลังของมารดาที่จะทำให้น้ำนมของมารดาที่ได้มีพลังงานสูงขึ้น10 และพบว่าหลังมีการตั้งธนาคารนมแม่ที่หอทารกวิกฤตไม่ได้ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวลดลง แต่ช่วยลดการใช้นมผสมในทารกในช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังคลอดลง และมีมารดาที่พร้อมจะอาสาบริจาคน้ำนมให้สำหรับทารกที่จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง11 สำหรับในประเทศไทยได้มีการตั้งธนาคารนมแม่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์อีกหลายแห่ง แต่ยังจำกัดการให้บริการเฉพาะสำหรับทารกป่วยในสถานพยาบาลเนื่องจากจำนวนนมแม่ที่บริจาคมีจำกัด
เอกสารอ้างอิง
- Brownell EA, Lussier MM, Herson VC, Hagadorn JI, Marinelli KA. Donor human milk bank data collection in north america: an assessment of current status and future needs. J Hum Lact 2014;30:47-53.
- Parker MG, Barrero-Castillero A, Corwin BK, Kavanagh PL, Belfort MB, Wang CJ. Pasteurized human donor milk use among US level 3 neonatal intensive care units. J Hum Lact 2013;29:381-9.
- Escuder-Vieco D, Garcia-Algar O, Pichini S, Pacifici R, Garcia-Lara NR, Pallas-Alonso CR. Validation of a screening questionnaire for a human milk bank to determine the presence of illegal drugs, nicotine, and caffeine. J Pediatr 2014;164:811-4.
- Arslanoglu S, Bertino E, Tonetto P, et al. Amendment to 2010 Italian guidelines for the establishment and operation of a donor human milk bank. J Biol Regul Homeost Agents 2012;26:61-4.
- Vazquez-Roman S, Garcia-Lara NR, Escuder-Vieco D, Chaves-Sanchez F, De la Cruz-Bertolo J, Pallas-Alonso CR. Determination of Dornic acidity as a method to select donor milk in a milk bank. Breastfeed Med 2013;8:99-104.
- Wallis J. Infant-feeding practices after opening a human milk bank. Midwives 2010:22.
- Mello-Neto J, Rondo PH, Oshiiwa M, Morgano MA, Zacari CZ, dos Santos ML. Iron supplementation in pregnancy and breastfeeding and iron, copper and zinc status of lactating women from a human milk bank. J Trop Pediatr 2013;59:140-4.
- Villanueva T. First human breast milk bank opens in Africa. BMJ 2011;343:d5179.
- Chang FY, Cheng SW, Wu TZ, Fang LJ. Characteristics of the first human milk bank in Taiwan. Pediatr Neonatol 2013;54:28-33.
- de Moraes PS, de Oliveira MM, Dalmas JC. Caloric profile of pasteurized milk in the human milk bank at a university hospital. Rev Paul Pediatr 2013;31:46-50.
- Utrera Torres MI, Medina Lopez C, Vazquez Roman S, et al. Does opening a milk bank in a neonatal unit change infant feeding practices? A before and after study. Int Breastfeed J 2010;5:4.