รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่มารดาต้องกลับไปทำงานเนื่องจากมารดาเป็นลูกจ้างและหมดระยะเวลาของการลาพักหลังคลอด ทำให้มารดามีโอกาสที่จะต้องแยกจากทารก หากมารดาไม่ได้รับการแนะนำและฝึกปฏิบัติในการบีบน้ำนมและมีความรู้ในเรื่องการเก็บรักษาน้ำนม ร่วมกับต้องมีความช่วยเหลือของครอบครัวในผู้ที่ช่วยดูแลทารก จะมีผลทำให้มารดาหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ดังนั้นจะเห็นว่าการที่มารดาต้องกลับไปทำงานมีผลเสียต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 อย่างไรก็ตาม อุปสรรคจากการกลับเข้าทำงานของมารดายังมีผลน้อยกว่าความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา3 ในประเทศไทยพบว่า การกลับเข้าทำงานของมารดาเป็นสาเหตุสำคัญที่พบบ่อยที่สุดในการหยุดกินนมแม่4,5
เอกสารอ้างอิง
- Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.
- Ladomenou F, Kafatos A, Galanakis E. Risk factors related to intention to breastfeed, early weaning and suboptimal duration of breastfeeding. Acta Paediatr 2007;96:1441-4.
- Sulaiman Z, Liamputtong P, Amir LH. Timing of return to work and women’s breastfeeding practices in urban Malaysia: A qualitative study. Health Soc Care Community 2018;26:48-55.
- Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.
- Plewma P. Prevalence and factors influencing exclusive breast-feeding in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 3:S94-9.