รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัจจัยเรื่องรายได้นั้นมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมารดาที่มีรายได้ต่ำจะสัมพันธ์ความล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า1-3 เนื่องจากต้องพยายามในการหารายได้ ทำให้ต้องกลับไปทำงานเร็ว ซึ่งเมื่อกลับไปทำงานเร็ว การที่ต้องแยกจากทารก จึงทำให้มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณะที่ในมารดาที่มีฐานะยากจน หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ จะมีอัตราการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงสองปีมากกว่า4 เนื่องจากการให้ลูกกินนมแม่น่าจะช่วยประหยัดและช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มากกว่าการใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งจะมีราคาสูง จึงทำให้พบมีการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากกว่า
เอกสารอ้างอิง
- Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.
- Dettwyler KA. When to wean: biological versus cultural perspectives. Clin Obstet Gynecol 2004;47:712-23.
- Zhu Y, Hernandez LM, Mueller P, Dong Y, Hirschfeld S, Forman MR. Predictive Models for Characterizing Disparities in Exclusive Breastfeeding Performance in a Multi-ethnic Population in the US. Matern Child Health J 2016;20:398-407.
- Islam GMR, Igarashi I, Kawabuchi K. Inequality and Mother’s Age as Determinants of Breastfeeding Continuation in Bangladesh. Tohoku J Exp Med 2018;246:15-25.