มารดามักคิดว่าน้ำนมตนเองไม่เพียงพอเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                 ต้องบอกก่อนเลยว่า ส่วนใหญ่แล้วมารดาจะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก การมีน้ำนมไม่พอ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 โดยพบเป็นปัญหาที่พบบ่อยของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และยังมีผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนเวลาอันควร2,3  อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดากลับมีความรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 504 หากมารดาร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะคิดว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอ ก็จะเป็นสาเหตุของการที่พบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่าที่ควรเป็น การสอนให้มารดาสามารถสังเกต ประเมินน้ำนม หรือขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่ไม่แน่ใจ จะช่วยลดปัญหานี้ได้ สำหรับปัญหานี้ในประเทศไทย พบเป็นสาเหตุอันดับที่สองในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อยรองจากการกลับไปทำงานของมารดา5

เอกสารอ้างอิง

  1. Hegazi MA, Allebdi M, Almohammadi M, Alnafie A, Al-Hazmi L, Alyoubi S. Factors associated with exclusive breastfeeding in relation to knowledge, attitude and practice of breastfeeding mothers in Rabigh community, Western Saudi Arabia. World J Pediatr 2019.
  2. Chang PC, Li SF, Yang HY, et al. Factors associated with cessation of exclusive breastfeeding at 1 and 2 months postpartum in Taiwan. Int Breastfeed J 2019;14:18.
  3. Morton J, Hall JY, Pessl M. Five steps to improve bedside breastfeeding care. Nurs Womens Health 2013;17:478-88.
  4. Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.
  5. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.