มารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติจะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ทำได้ดี

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              ดัชนีมวลกายถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะมีผลต่อความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และมีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สตรีที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงมีผลลบต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1,2 และในมารดาที่ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์คือผอมไป หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนคืออ้วนเกินไป ยังมีอัตราการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่าในมารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ3,4 ในมารดาที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่า5 เนื่องจากส่วนหนึ่งมารดาเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดและการติดเชื้อหลังคลอดสูงกว่าด้วย6-8 ซึ่งการมีการผ่าตัดคลอดมารดาจะเริ่มให้นมลูกได้ช้ากว่า มีการเคลื่อนไหวหลังคลอดได้น้อยกว่าเนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดคลอดมักได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง แต่หากมีสามี ญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยสนับสนุนอาจลดผลกระทบของการผ่าตัดคลอดต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Zhu P, Hao J, Jiang X, Huang K, Tao F. New insight into onset of lactation: mediating the negative effect of multiple perinatal biopsychosocial stress on breastfeeding duration. Breastfeed Med 2013;8:151-8.
  2. Pruszkowska-Przybylska P, Sitek A, Rosset I, et al. The association between socioeconomic status, duration of breastfeeding, parental age and birth parameters with BMI, body fat and muscle mass among prepubertal children in Poland. Anthropol Anz 2019.
  3. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Suksamarnwong M, Wongin S. Effect of Obesity and Early Breastfeeding Initiation on Exclusive Breastfeeding Rates. J Med Assoc Thai 2016;99 Suppl 8:S36-S42.
  4. Thompson LA, Zhang S, Black E, et al. The association of maternal pre-pregnancy body mass index with breastfeeding initiation. Matern Child Health J 2013;17:1842-51.
  5. Lima NP, Bassani DG, Silva B, et al. Association of breastfeeding, maternal anthropometry and body composition in women at 30 years of age. Cad Saude Publica 2019;35:e00122018.
  6. Al-Kubaisy W, Al-Rubaey M, Al-Naggar RA, Karim B, Mohd Noor NA. Maternal obesity and its relation with the cesarean section: a hospital based cross sectional study in Iraq. BMC Pregnancy Childbirth 2014;14:235.
  7. Graham LE, Brunner Huber LR, Thompson ME, Ersek JL. Does amount of weight gain during pregnancy modify the association between obesity and cesarean section delivery? Birth 2014;41:93-9.
  8. Leth RA, Uldbjerg N, Norgaard M, Moller JK, Thomsen RW. Obesity, diabetes, and the risk of infections diagnosed in hospital and post-discharge infections after cesarean section: a prospective cohort study. Acta Obstet Gynecol Scand 2011;90:501-9.