มารดาที่ผ่าตัดคลอดควรใช้ท่าใดในการท่าให้นมลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

              การช่วยเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะเริ่มเมื่อมารดาและทารกส่งสัญญาณว่ามีความพร้อม โดยการเริ่มต้นมารดาไม่จำเป็นลุกนั่ง โอบกอดหรือต้องขยับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูกได้ แต่จะเป็นทารกที่จะค้นหาเต้านมและเริ่มดูดนมเอง การปฏิบัตินี้สามารถทำได้นานตราบเท่าที่มีบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าดูอยู่ แม้มารดาจะยังง่วงซึมจะฤทธิ์ของยาดมสลบก็ตาม บุคลากรควรช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สามารถจัดท่าทารกเข้าเต้าได้ ท่าที่ใช้สำหรับการให้นมอาจใช้ท่านอนตะแคงข้าง (side-lying) บนเตียง ท่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ และมารดายังสามารถทำได้แม้มารดาต้องนอนราบหลังจากให้ยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง การจัดท่านี้มารดาควรจะต้องใช้หมอนช่วยพิงด้านหลังและรองใต้หัวเข่าขณะที่อยู่ในท่านอนตะแคงข้าง หรือมารดาอาจใช้ท่านั่งเอนหลัง (laid back) โดยทารกอยู่บนตัวมารดา สำหรับท่านอนหงายสามารถทำได้ แต่ไม่ควรให้ทารกกดทับบริเวณแผลผ่าตัด1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.