รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ในสมัยก่อนที่ยังขาดการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและใช้ข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ การตัดสายสะดือทารกจะทำหลังการคลอดทารกทันที หากไม่มีภาวะเร่งด่วนอื่น ๆ แต่เมื่อมีการศึกษามากขึ้นพบว่า การชะลอการตัดสายสะดือ โดยให้มีการรัดหรือตัดสายสะดือหลังคลอดทารกราว 30 วินาทีถึง 2 นาที และจัดทำระดับตัวของทารกอยู่ต่ำกว่าระดับรก จะทำให้เลือดที่อยู่ในรกไหลเข้าสู่ตัวทารก ทารกได้รับเลือดเพิ่มขึ้นและช่วยในการสะสมของธาตุเหล็กด้วย1,2 ซึ่งจะมีประโยชน์ โดยช่วยลดการเกิดภาวะซีดของทารก และความวิตกกังวลของมารดาในเรื่องการขาดธาตุเหล็กจากการให้ลูกกินนมแม่3,4
เอกสารอ้างอิง
- McAdams RM. Time to implement delayed cord clamping. Obstet Gynecol 2014;123:549-52.
- Garofalo M, Abenhaim HA. Early versus delayed cord clamping in term and preterm births: a review. J Obstet Gynaecol Can 2012;34:525-31.
- Kc A, Rana N, Malqvist M, Jarawka Ranneberg L, Subedi K, Andersson O. Effects of Delayed Umbilical Cord Clamping vs Early Clamping on Anemia in Infants at 8 and 12 Months: A Randomized Clinical Trial. JAMA Pediatr 2017;171:264-70.
- Alzaree F, Elbohoty A, Abdellatif M. Early Versus Delayed Umbilical Cord Clamping on Physiologic Anemia of the Term Newborn Infant. Open Access Maced J Med Sci 2018;6:1399-404.