รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เป็นที่ทราบกันดีว่า ทารกที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลย้ายไปที่หอทารกป่วยวิกฤตจะมีอัตราการเลี้ยงลูด้วยนมแม่อย่างเดียวต่ำ สาเหตุอาจเป็นจากการที่ทารกและมารดาต้องแยกจากกัน ทารกป่วย ทารกได้รับน้ำเกลือหรือยาเพื่อการดูแลรักษา การที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วยหรือจำเป็นต้องดูแลที่หอทารกป่วยวิกฤตมีการแนะนำให้ใช้บันไดสิบขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ป่วย1 นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า การจัดโปรแกรมให้บิดาและมารดาเยี่ยมทารกที่หอทารกป่วยวิกฤตจะช่วยเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อติดตามการกินนมแม่ของทารกก่อนได้รับการอนุญาตให้กลับบ้านได้2 ดังนั้น จะเห็นว่าการปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น จะต้องอาศัยความร่วมมือในส่วนต่าง ๆ ของสถานพยาบาล และยังมีความจำเป็นต้องมีเครือข่ายช่วยในการดูแลทารกอย่างต่อเนื่องหลังจากทารกได้กลับไปอยู่ที่บ้านแล้ว รวมทั้งการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมที่จะช่วยส่งเสริมในปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อและเพิ่มโอกาสให้ทารกได้กินนมแม่ยาวนานตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก
เอกสารอ้างอิง
- Spatz DL. Beyond BFHI: The Spatz 10-Step and Breastfeeding Resource Nurse Model to Improve Human Milk and Breastfeeding Outcomes. J Perinat Neonatal Nurs 2018;32:164-74.
- Cuttini M, Croci I, Toome L, et al. Breastfeeding outcomes in European NICUs: impact of parental visiting policies. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2019;104:F151-F8.