การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะไตรมาสที่สาม
ทารกในไตรมาสที่สามจะเพิ่มน้ำหนักเร็วขึ้นเนื่องการการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ ครบถ้วนแล้ว การเกิดของทารกก่อนระยะนี้ นับเป็นการแท้ง ในสัปดาห์ที่ 32 ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 1800 กรัม ผิวหนังยังมีสีแดงและเหี่ยวย่น สัปดาห์ที่ 36 ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 2500 กรัม ผิวหนังเริ่มตึงขึ้นจากไขมันสะสมใต้ผิวหนัง เมื่อย่างเข้าสัปดาห์ที่ 37 เมื่อมีการคลอดก็จะถึอว่าการคลอดครบกำหนดแล้ว สำหรับอายุครรภ์ที่เลย 42 สัปดาห์ขึ้นไปมักเกิดอันตรายจากการเสื่อมของการทำงานของรก ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้
ในระยะไตรมาสที่สาม? อาการต่างๆ ที่พบในไตรมาสที่สองจะเพิ่มมากขึ้น? อาการอื่นๆ ที่พบเพิ่มเติมได้แก่
– หายใจไม่อิ่ม? เนื่องจากมดลูกขยายขนาดขึ้นมากดันกระบังลม
– สะดือจะถูกดันจนราบหรือจุ่นในบางรายซึ่งจะเหมือนเดิมเมื่อหลังคลอด
– อาจพบปัสสาวะเล็ดเวลาไอ จาม หรือวิ่ง
– การปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นจากศีรษะทารกลงไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
– เหนื่อยจากการหลับไม่ค่อยสนิท? เนื่องจากการเจ็บครรภ์เตือนหรือการดิ้นของทารกในครรภ์
– อุ้ยอ้ายจากท้องที่ใหญ่และหนักขึ้น
– กระดูกเชิงกรานจะเริ่มขยายบริเวณข้อต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด? ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดบริเวณข้อสะโพกหรือหัวหน่าวเวลาเคลื่อนไหวได้
– น้ำหนักในช่วงไตรมาสนี้โดยรวมเพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม
คุณแม่จะปฏิบัติตัวอย่างไรในช่วงไตรมาสที่สาม??
การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพิ่มเติมในระยะนี้จากไตรมาสที่สอง ได้แก่
– ยกเท้าพาดสูงเสมอเมื่อมีโอกาส? เพื่อลดการเกิดเส้นเลือดขอดและข้อเท้าบวม
– ควรจัดเตรียมกระเป๋าเสื่อผ้าของใช้? สำหรับการไปโรงพยาบาลให้พร้อมอยู่เสมอ
– เตรียมยกทรงสำหรับใส่ให้นมลูกได้
– เตรียมของใช้สำหรับลูกน้อยหลังคลอดใหม่
อาการอะไรบ้างที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ในไตรมาสที่สาม?
– มีไข้สูง ไม่ทราบสาเหตุ
– ปัสสาวะแสบ ขัด หรือเป็นเลือด
– ปวดท้องน้อยรุนแรง
– เลือดออกจากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นอาการนำของการตกเลือดก่อนคลอด
– ทารกในครรภ์ดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น
– ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นหรือคันช่องคลอด
– มีมูกเลือด มีน้ำเดิน
– มีอาการของการเจ็บครรภ์คลอด คือ ท้องแข็งเป็นก้อนเป็นพักๆ ทุก 10 นาทีหรือน้อยกว่า การเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อยๆ
อาการเตือนอย่างไรแสดงถึงการเจ็บครรภ์คลอด?
??????????? คุณแม่อาจวิตกกังวลและไม่ทราบว่าเมื่อไหร่เวลานั้นมาถึง? ความไม่แน่ใจซึ่งอาจมีเฉพาะการบีบตัวของมดลูกครั้งแรกๆ? ซึ่งคล้ายกับการบีบตัวปกติในสัปดาห์ท้ายๆ ของการตั้งครรภ์? แต่จะแน่ใจเมื่อพบสัญญาณเตือนต่อไปนี้
– มูกเลือด (show)? เป็นก้อนมูกข้นมีเลือดผสม? เดิมปิดอยู่บริเวณปากมดลูกและจะหลุดผ่านช่องคลอดเมื่อตอนเริ่มระยะเจ็บครรภ์
– น้ำเดิน? ถุงน้ำคร่ำซึ่งห่อหุ้มตัวทารกอยู่จะแตกในช่วงหนึ่งของการเจ็บครรภ์? อาจพบมีน้ำไหลพรวดโดยปกติจะมีจำนวนมาก ถ้าเกิดขณะยืนอยู่จะไหลมาตามขาและลงพื้น หากนอนอยู่จะพบลักษณะเตียงเปรอะคล้ายปัสสาวะรดที่นอน? ถ้าพบน้ำเดินแม้ไม่มีการเจ็บครรภ์ก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์? เพราะการที่มีถุงน้ำคร่ำแตกเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อสูงขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ได้
– มดลูกบีบตัว? อาจเริ่มด้วยการปวดหน่วงๆ ที่หลัง? หรือปวดร้าวไปขา จะสังเกตเห็นท้องแข็งเป็นพักๆ อาการปวดจะสม่ำเสมอและถี่ขึ้น? โดยปกติอาการปวดมักจะถี่โดยเว้นช่วงระยะเวลาน้อยกว่า 10 นาทีหรือชั่วโมงละ 6 ครั้ง
เมื่อถึงตอนนี้ คุณแม่คนใหม่คงจะเตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ระยะคลอดได้อย่างเหมาะสม ไม่วิตกกังวลอีกต่อไปและสามารถผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปด้วยดี
บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์