รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอดมีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยนอกจากจะช่วยพัฒนาการของระบบประสาทแล้วยังช่วยให้ทารกเริ่มต้นกินนมแม่ได้เร็ว และทารกกินนมแม่ได้ดีกว่า ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 อย่างไรก็ตาม บุคลากรทางการแพทย์ควรมีความเข้าใจในกระบวนการและรายละเอียดของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอดเพื่อช่วยในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยกระบวนนี้จะสมบูรณ์ควรจะมีการปล่อยให้ทารกอยู่บนอกมารดาราว 1 ชั่วโมงเพื่อให้ทารกปรับตัวจากการที่อยู่ในครรภ์ มาทำความคุ้นเคยกับการอยู่แนบอกมารดาและพร้อมที่เคลื่อนเข้าหานมแม่เพื่อกินนม ซึ่งหากจัดแบ่งกระบวนการนี้จะมีคำย่อของขั้นตอน 9 ขั้นตอน ได้แก่ ทารกจะผ่านกระบวนการการร้องไห้ (birth cry) ผ่อนคลาย (relaxation) ตื่นตัว (awakening) เคลื่อนไหว (activity) พัก (resting) คืบคลาน (crawling) คุ้นเคย (familiarization) ดูดนม (suckling) และหลับ (sleep) โดยในกระบวนการเหล่านี้ต้องการความสงบ ปราศจากการรบกวน จึงจะได้ผลดีและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
- Ghojazadeh M, Hajebrahimi S, Pournaghi-Azar F, Mohseni M, Derakhshani N, Azami-Aghdash S. Effect of Kangaroo Mother Care on Successful Breastfeeding: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomised Controlled Trials. Rev Recent Clin Trials 2019;14:31-40.