รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การพัฒนาคุณภาพหรือการประกันคุณภาพโรงพยาบาล ปัจจุบันเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ให้ความสำคัญและมีคุ้นเคย โดยในประเทศไทยเกณฑ์ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจะใช้เกณฑ์ Hospital accreditation หรือ HA สำหรับโรงพยาบาลภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชนบางโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยประกันสังคมและผู้ป่วยประกันคุณภาพ แต่โรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยต่างชาติ จะใช้เกณฑ์พัฒนาคุณภาพของนานาชาติ เช่น JCI หรือในอดีตอาจใช้ ISO การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลนอกจากจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มารับบริการ สร้างความสบายใจต่อบุคลากรทางแพทย์ผู้ให้การดูแลว่าโรงพยาบาลมีระบบรักษาพยาบาลที่ดี มีความปลอดภัยและลดปัญหาการฟ้องร้องแล้ว การประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดของมารดาและทารกยังช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย1 ซึ่งเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดของประเทศไทยจะใช้เกณฑ์ลูกเกิดรอดแม่ปลอดและเกณฑ์โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ในสหรัฐอเมริกาใช้คะแนนจากการสำรวจการดูแลทารกและการให้อาหารทารกของมารดาในการประเมิน (Maternity Practices in Infant Nutrition and Care survey) ซึ่งคะแนนจากการประเมินเหล่านี้ จะช่วยในการพัฒนานโยบายและการปฏิบัติที่จะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถานพยาบาล
เอกสารอ้างอิง
- Barrera CM, Beauregard JL, Nelson JM, Perrine CG. Association of Maternity Care Practices and Policies with In-Hospital Exclusive Breastfeeding in the United States. Breastfeed Med 2019.