บทบาทของจิตแพทย์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีมากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            ปัจจุบันการดูแลรักษาโรคหรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ มักอาศัยความร่วมมือของแพทย์ในหลากหลายสาขาหรือที่เรียกว่า สหสาขา ซึ่งไม่เว้นในเรื่องของการสนับสน นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไปแพทย์ที่มักเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และแพทย์เวชศาสตร์ชุมชน นอกจากนี้ยังมีแพทย์เฉพาะด้านในกรณีที่มีปัญหาเฉพาะ ได้แก่ ทารกที่มีภาวะลิ้นติด แพทย์ที่ร่วมดูแลอาจเป็นกุมารศัลยแพทย์ ทันตแพทย์ หรือแพทย์โสต ศอ นาสิก และลาริงซ์วิทยา  แต่ปัญหาหรืออุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีส่วนของสภาวะจิตใจเกี่ยวข้อง โดยร่วมกับความจำเป็นการใช้จิตวิทยาวิเคราะห์เพื่อช่วยในการให้คำปรึกษาให้มารดาเห็นประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และให้เกิดความเหมาะสมกับบุคลิกภาพของมารดา แพทย์ที่จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นก็คือ จิตแพทย์1 เนื่องจากต้องอาศัยความรู้ความชำนาญจำเพาะด้าน ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของแพทย์ในสาขาต่าง ๆ ที่จะช่วยวางแผนกำหนดแนวทางในการร่วมดูแลมารดาและทารกอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Rowold K. ‘If We Are to Believe the Psychologists …’: Medicine, Psychoanalysis and Breastfeeding in Britain, 1900-55. Med Hist 2019;63:61-81.