รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ? การที่มารดามีภาวะอ้วนส่งผลเสียต่อทั้งตัวมารดาเอง การตั้งครรภ์ การคลอด และทารกที่จะเกิดขึ้นมาด้วย โดยที่ผลที่เกิดแก่ทารกนั้นมีทั้งที่เกิดขึ้นเห็นผลได้ทันทีจากการคลอดยาก ทารกได้รับบาดเจ็บระหว่างการคลอด ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ น้ำนมมารดามาช้าทำให้ลดโอกาสที่ทารกจะได้รับน้ำนมแม่ที่มีประโยชน์และช่วยในเรื่องสุขภาพหลายด้าน ทารกมีโอกาสเกิดโรคอ้วน และโรคเรื้อรังเมื่อเจริญเติบโตขึ้นในอนาคตสูงกว่า1
? ? ? ? ? ? ? ? จากการศึกษาได้อธิบายผลของการที่มารดาอ้วนที่มีต่อทารกในระยะยาวว่า การที่มารดาอ้วนจะมีผลทำให้เทโลเมียร์ (Telomere) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยู่บริเวณปลายของโครโมโซมที่เป็นสารพันธุกรรม โดยจะทำให้โครโมรโซมมีเสถียรภาพที่ดี ความยาวของเทโลเมียร์ในมารดาที่อ้วนจะสั้นลง ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมและเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในอนาคตขึ้น ดังนั้น การที่มารดามีภาวะอ้วนนั้นจะเป็นการวางความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ในสารพันธุกรรม ซึ่งจะกำหนดสุขภาพทารกเมื่อเจริญเติบโตขึ้น หากรู้เช่นนี้แล้ว การสื่อสารให้มารดาทราบถึงความเสี่ยงเหล่านี้ น่าจะสร้างแรงบันดาลใจที่จะดูแลสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักทำให้น้ำหนักของมารดาอยู่ในดัชนีมวลกายปกติ และมีผลลัพธ์ที่ดีต่อทารก-ลูกของมารดาที่จะเกิดมาในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
- Martens DS, Plusquin M, Gyselaers W, De Vivo I, Nawrot TS. Maternal pre-pregnancy body mass index and newborn telomere length. BMC Med 2016;14:148.