รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนของมารดามีผลเสียต่อการตั้งครรภ์และการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจะพบว่า มารดาที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าปกติ ได้แก่ มารดาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน หรืออาจเรียกว่ามีโรคอ้วนก็ได้ จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดสูงขึ้น ซึ่งการที่มีความเสี่ยงในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดก็จะเพิ่มโอกาสของการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น โดยการผ่าตัดคลอดนั้นจะมีผลเสียต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกายของมารดาก่อนการตั้งครรภ์ในดัชนีมวลกายช่วงปกติกับช่วงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ช่วงที่มีภาวะอ้วน จนถึงช่วงที่มีภาวะอ้วนขั้นรุนแรงกับการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า ยิ่งมารดามีน้ำหนักเกินมากขึ้นหรืออ้วนเพิ่มขึ้นมากเท่าใด ยิ่งมีผลเสียต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นเท่านั้น1 สิ่งนี้บ่งชี้ให้มารดาควรใส่ใจเรื่องสุขภาพโดยการเตรียมความพร้อมของร่างกายรวมถึงดูแลค่าดัชนีมวลกายที่จะบ่งบอกถึงภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนการตั้งครรภ์จะเป็นผลดีต่อมารดาและทารกรวมถึงการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ในขณะเดียวกัน หากบุคลากรทางการแพทย์พบมารดาที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนตั้งครรภ์ ควรให้คำปรึกษาและการดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากปัจจัยในเรื่องน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนนั้น ถือเป็นความเสี่ยงทั้งต่อการตั้งครรภ์ การคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Ramji N, Challa S, Murphy PA, Quinlan J, Crane JMG. A comparison of breastfeeding rates by obesity class. J Matern Fetal Neonatal Med 2017:1-6.